1. เพอร์ไลท์คือ หินภูเขาไฟชนิดหนึ่งที่มีปริมาณน้ำในตัวค่อนข้างสูง เป็นหินภูเขาไฟที่พบตามธรรมชาติ กระจายตัวอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก
รูปหินเพอไลท์ตามธรรมชาติ
2. เพอร์ไลท์จัดอยู่ในทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป เช่นเดียวกับน้ำมัน โลกเราทั้งโลกมีหินเพอร์ไลท์อยู่ประมาณ 700 ล้านตัน
รูปหินเพอร์ไลท์
3. ประเทศที่มีหินเพอร์ไลท์มากที่สุดคือประเทศอาร์มีเนีย 150 ล้านตัน รองลงมาคือกรีซ 120 ล้านตัน ที่เหลือคือ ตุรกี อเมริกา และฮังการี สามประเทศนี้รวมกันมีอยู่ประมาณ 57 ล้านตัน
ประเทศอาร์เมเนีย มีหินเพอร์ไลท์อยู่จำนวนมาก
4. ประเทศที่มีการผลิตเพอร์ไลท์มากที่สุดสามอันดับแรกได้แก่ จีน ตุรกี และ กรีซ
รูปโรงงานผลิตเพอร์ไลท์ในจีน
5. การที่จะนำหินเพอร์ไลท์มาใช้งานนั้น วิธีการก็คือ
5.1 ระเบิดหินเพอร์ไลท์ออกเป็นชิ้นเล็กๆ
5.2 นำหินเพอร์ไลท์ที่ได้จากการระเบิดมาผ่านความร้อนสูงที่อุณหภูมิ 850–900 °C
5.3 หินเพอร์ไลท์ก็จะพองตัว ขยายตัวใหญ่ขึ้น และมีน้ำหนักเบา
รูปหินเพอร์ไลท์แต่ละขั้นตอนการผลิต
รูปหินเพอร์ไลท์ดิบ กับ หินเพอร์ไลท์พร้อมใช้
6. ฝุ่นหินที่เกิดจากเพอไลท์เป็นฝุ่นหินที่ร่างกายไม่สามารถขับออกได้ ถ้าสูดเข้าไปจะไปเกาะสะสมอยู่ในผนังปอด ดังนั้นก่อนใช้งานเพอไลท์ควรนำหินเพอร์ไลท์ไปแช่น้ำก่อน หรือใส่ mask ที่ช่วยป้องกันฝุ่นหินในขณะใช้งาน
7. ประโยชน์ของเพอร์ไลท์ที่สำคัญคือช่วยแก้ปัญหาดินแน่น เพิ่มความโปร่งในดิน ซึ่งทำให้น้ำเดินได้ดี มีออกซิเจนในดินสูง ช่วยให้รากพืชเจริญเติบโตได้ดี
8. เนื่องจากกระบวนการผลิตเพอร์ไลท์ต้องผ่านกรรมวิธีให้ความร้อนสูง 850-950 °C ดังนั้นผลผลิตที่ได้คือเพอร์ไลท์มีคุณสมบัติ สะอาด ปราศจากเชื้อโรค และแมลง นอกจากนี้เพอร์ไลท์ยังมีค่า ph ที่เเหมาะกับการปลูกพืช
9. เพอร์ไลท์ในท้องตลาดประเทศไทย ณ ตอนนี้มีด้วยกัน 3 ขนาด นั้นคือ
1. ขนาด 2-4 mm
2. ขนาด 3-6 mm
3. ขนาด 4-8 mm
โดยที่เพอร์ไลท์ยิ่งมีขนาดใหญ่ก็ยิ่งจะทำให้ช่องว่างอากาศในดิน ใหญ่ตามไปด้วย โดยการเลือกซื้อเพอร์ไลท์นั้นควรเลือกซื้อเพอร์ไลท์ตามขนาดรากพืชหากรากพืชมีขนาดเล็กควรเลือกซื้อเพอร์ไลท์ไซส์เล็ก แต่หากรากพืชมีขนาดใหญ่ควรเลือกซื้อเพอร์ไลท์ที่มีขนาดใหญ่
10. เพอร์ไลท์สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ ตราบใดที่มันไม่ได้เป็นแหล่งให้ก่อโรค เพอร์ไลท์เป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป ดังนั้นการนำมันกลับมาใช้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เป็นการช่วยรักษาและใช้ทรัพยากรในโลกของเราให้คุ้มค่าที่สุด
- เพอร์ไลท์เป็นวัสดุปลูกประเภทใด คลิก