พีท(Peat) คือการทับถมของซากพืชหรืออินทรีย์วัตถุเป็นเวลานาน
มอส(Moss) คือพืชนิดหนึ่ง มีขนาดเล็ก ก่อตัวเป็นก้อนเรียงตัวเป็นแผ่นติดกันหนาแน่น มักขึ้นในบริเวณที่มีความชื้นสูง
รูปมอส (Moss) ที่ขึ้นตามธรรมชาติ
พีทมอส(PeatMoss) คือวัสดุที่ได้จากการทับถมของซากพืชมอสเป็นเวลานาน มากกว่า 1,000 ปีขึ้นไป โดยจะพบในบริเวณบึง (bogs) พื้นที่ชุ่มน้ำหรือที่ที่มีน้ำขัง (wetlands)และมีสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็น
พีทมอส (PeatMoss)
พื้นที่ที่ค้นพบ peatmoss เรียกว่า peatland กินพื้นที่ประมาณ 2.85% ของพื้นผิวดินโลก หรือประมาณ 423 ล้านเอเคอร์ประเทศที่มี peatland มากที่สุดคือประเทศรัสเซีย รองลงมาคือประเทศแคนาดา ตามมาด้วย อเมริกา
รูปแสดง peatland ในโลก
ประเทศไทยซึ่งเป็นเมืองร้อนยังไม่มีรายงานว่ามี peatland ที่จะสามารถขุดพีทมอสขึ้นมาใช้ได้ ดังนั้นพีทมอสจึงต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศทั้งหมด โดยประเทศที่มีการผลิตพีทมอสอันดับต้นๆของโลกได้แก่ แคนาดา เยอรมัน ฟินแลนด์ สวีเดน และ รัสเซีย
1. ขุดร่องคูน้ำรอบๆ peatland เพื่อระบายน้ำออก
2. ถาง กำจัดพืชที่อยู่บนพื้นผิวออกให้หมด
3. ปรับระดับพื้นที่เพื่อเตรียมเก็บเกี่ยว
4. คราดชั้นบนสุดออกเพื่อเร่งกระบวนการแห้งของพีท
5. ทิ้งไว้ 3-4 วันก็จะใช้รถดูดสูญญากาศขนาดใหญ่ในการเก็บเกี่ยว
6. เมื่อได้พีทมอสจาก peatland มาแล้วพีทมอสก็ถูกขนส่งไปที่บริษัทผู้ผลิตเพื่อทำความสะอาด อบแห้ง ผสมและบรรจุต่อไป
รูป Wetland พื้นที่ชุ่มน้ำมีน้ำขังที่ที่พีทมอสทับถมกันอยู่
รูป ร่องระบายน้ำออกจาก wetland ก่อนขุดพีทมอส
รูปแสดงรถดูดพีทมอสขึ้นมาจากดิน
โรงงานพีทมอส
ข้อด้อยของพีทมอส
1. พีทมอสตามธรรมชาติมีค่า ph ค่อนไปทางกรด (4.0-4.5) จึงเหมาะกับการปลูกพืชที่ชอบความเป็นกรดเท่านั้น
2. ถึงแม้ว่าพีทมอสจะเกิดจากการทับถมของซากพืชพืท แต่มันก็ไม่เหมือนกับการทับถมของซากพืชซากสัตว์ที่มีธาตุอาหารมากสามารถนำไปใช้ทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้ พีทมอสโดยธรรมชาติมีสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชน้อยและไม่มีจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์กับพืชสักเท่าไหร่ด้วย
3. ถึงแม้พีทมอสจะเก็บน้ำได้ 10 เท่าของน้ำหนักตัว แต่ถ้าเกิดว่าน้ำแห้งเหือดสนิทมันจะต้องใช้เวลานานถึงจะเก็บกักความชื้นได้อีกครั้ง ดังนั้นถ้าหากเผลอปล่อยให้พีทมอสแห้งสนิทก็อาจทำให้พีชตายจากการขาดน้ำได้
รูปแสดงพีทมอสดิบตามธรรมชาติไม่ได้เติมสารใดๆ
จากตารางภาพ เป็นพีทมอสดิบ 3 สูตรที่ไม่ได้ผสมสารใดๆเพิ่มเติมเลย จะเห็นว่าพีทมอสทั้ง 3 สูตร มีค่า ph อยู่ที่ 4.0-4.5 (มีค่าความเป็นกรดสูง) ไม่มีการเติมปุ๋ย ไม่มีการเติมสารทำให้เปียก (Wetting Agent) ซึ่งทั้งสามสูตรข้างต้นยังไม่ได้มีการนำมาจำหน่ายในประเทศไทย
ข้อดีของพีทมอส
1. พีทมอสมีคุณสมบัติสะอาด(Cleanliness)ไม่มีสิ่งอื่นเจือปนซึ่งหาได้ยากมากในวัสดุปลูกอื่นๆ ถ้าใครเคยปลูกต้นไม้ด้วยดิน จะพบว่าปลูกไปสักพักจะพบว่ามีหญ้าขึ้นมากับดิน มีโรค มีแมลงที่ติดมากับดินด้วย
2. พีทมอสมีคุณสมบัติปลอดเชื้อ(Sterile)ไม่มีแบคทีเรีย เชื้อรา และสารเคมีเจือปน ซึ่งนั้นทำให้พีทมอสเป็นวัสดุที่เหมาะสมที่สุดในการเพาะต้นกล้า ลองนึกถึงเด็กเกิดใหม่หากใครมีลูก หมอและพยาบาลจะแยกเด็กไปไว้ในห้องปลอดเชื้อ 2-3 วัน คนนอกไม่สามารถเข้าไปได้ เพราะเด็กแรกเกิดยังไม่แข็งแรง ภูมิต้านทานโรคยังน้อย เช่นเดียวกันต้นกล้าที่ขึ้นใหม่ก็ต้องการวัสดุปลูกที่ปลอดเชื้อ แบคทีเรีย และสารเคมีใดๆ
3.พีทมอสมีคุณสมบัติเก็บกักความชื้นได้ดี (Moisture Retention) โดยพีทมอสสามารถเก็บกักความชื้นได้มากถึง 60-68% ของน้ำหนักตัวเอง
4. พีทมอสมีคุณสมบัติไม่แน่น(Does not Compact)ไม่เหมือนกับดิน ดินเมื่อใช้ไปนานๆจะแน่น น้ำระบายไม่ดี ทำให้รากพืชขาดออกซิเจน ถึงต้องมีการแนะนำให้พรวนดินสม่ำเสมอ แต่พีทมอสถึงแม้จะมีคุณสมบัติเก็บกักความชื้นได้ดีแต่พีทมอสจะไม่แน่น ซึ่งช่วยให้รากพืชเดินดี น้ำระบายดี มีออกซิเจนสูง
ต้นกล้ามะเขืออายุ 21 วันเพาะด้วยพีทมอส
รูปรากต้นกล้ากระเจี้ยบเขียวอายุ 20 วัน เพาะด้วยดินปลูก พีทมอส พีทมอสและเพอร์ไลท์
ในปี 1926 Lennart von Post ได้ทำการแบ่งพีทมอสออกเป็น 10 ระดับชั้นโดยแบ่งแยกตามระดับความชื้นและระดับการย่อยสลาย และตั้งชื่อแผนภูมิของเขาว่า von post scale
แผนภูมิภาพ VonPostScale
H1 เป็นชั้นพีทยังไม่มีการย่อยสลายเมื่อใช้มือบิบจะมีน้ำใสแจ๋วเกือบ 100% ออกมา ยังคงระบุชนิดของพืชพีทได้ง่าย ไม่มีวัสดุอสัณฐานอื่นๆ
H2 เป็นชั้นพีทที่เกือบจะยังไม่มีการย่อยสลายเมื่อใช้มือบิบจะมีน้ำใสแจ๋วหรือออกสีเหลืองออกมา ยังคงระบุชนิดของพืชพีทได้ง่าย ไม่มีวัสดุอสัณฐานอื่นๆ
H3 เป็นชั้นพีทที่มีการย่อยสลายเล็กน้อยมากเมื่อใช้มือบิบจะมีน้ำสีน้ำตาลขุ่นออกมา แต่ยังไม่มีพีทผ่านช่องนิ้ว (บ่งบอกว่าเนื้อพีทมีความหยาบ) ยังคงระบุชนิดของพืชพีทได้ง่าย ไม่มีวัสดอสัณฐานอื่นๆ
H4 เป็นชั้นพีทที่มีการย่อยสลายเล็กน้อยเมื่อใช้มือบิบจะมีน้ำสีน้ำตาลขุ่นเข้มมากออกมา แต่ยังไม่มีพีทผ่านช่องนิ้ว (บ่งบอกว่าเนื้อพีทมีความหยาบ) พีชพีทในชั้นนี้มีลักษณะซีดขาวและฟีเจอร์ในการระบุชนิดบางอย่างขาดหายไป
H5 เป็นชั้นพีทที่มีการย่อยสลายปานกลางเมื่อใช้มือบิบจะมีน้ำสีโคลนออกมา และมีพีทผ่านช่องนิ้วเล็กน้อย (บ่งบอกว่าเนื้อพีทมีความละเอียด) โครงสร้างของพืชพีทเริ่มระบุได้ไม่ชัดเจน แต่ก็ยังสามารถระบุได้บางส่วน
H6 เป็นชั้นพีทที่มีการย่อยสลายสูงปานกลางโดยการระบุโครงสร้างของพืชพีทในชั้นนี้เป็นได้ยากยิ่งขึ้น เมื่อใช้มือบีบ ประมาณ 1 ใน 3 ของพีทจะผ่านนิ้วมือไป (ยิ่งผ่านนิ้วมือมากบ่งบอกว่าเนื้อพีทมีความละเอียดยิ่งมาก)
H7 เป็นชั้นพีทที่มีการย่อยสลายระดับสูง การะบุชนิดพืชเป็นไปด้วยความยากลำบาก เมื่อใช้มือบีบ ประมาณครึ่งนึง ของพีทจะผ่านนิ้วมือไป (ยิ่งผ่านนิ้วมือมากบ่งบอกว่าเนื้อพีทมีความละเอียดยิ่งมาก) น้ำที่ออกมาเป็นสีดำสนิท
H8 เป็นชั้นพีทที่มีการย่อยสลายระดับสูง การะบุชนิดพืชเป็นไปด้วยความยากลำบาก เมื่อใช้มือบีบ ประมาณครึ่งนึง ของพีทจะผ่านนิ้วมือไป (ยิ่งผ่านนิ้วมือมากบ่งบอกว่าเนื้อพีทมีความละเอียดยิ่งมาก) น้ำที่ออกมาเป็นสีดำสนิท
H9 เป็นชั้นพีทที่มีการย่อยสลายเสร็จสิ้น การะบุชนิดพืชเป็นไปได้ยากมา เมื่อใช้มือบีบ ประมาณเกือบทั้งหมดผ่านนิ้วมือ (ยิ่งผ่านนิ้วมือมากบ่งบอกว่าเนื้อพีทมีความละเอียดยิ่งมาก) ไม่มีน้ำออกมา
H10 เป็นชั้นพีทที่มีการย่อยสลายสมบูรณืแบบ ไม่สามารถระบุชนิดพืชได้แล้ว เมื่อใช้มือบีบ พีททั้งหมดจะผ่านนิ้วมือได้ (ยิ่งผ่านนิ้วมือมากบ่งบอกว่าเนื้อพีทมีความละเอียดยิ่งมาก) ไม่มีน้ำออกมา
ในทางการค้า ผู้ผลิตพีทมอส มักจะแยกพีทมอสออกเป็นสองชนิด
1 พีทมอสขาว (White Peatmoss) คือพีทมอสที่อยู่ชั้นบนๆขึ้นมาในแผนภูมิ von post scale ประมาณ H1-H5 ยังย้อยสลายไม่มาก มีคุณสมบัติเนื้อหยาบ มีสีออกเป็นสีน้ำตาลอ่อน ความชื้นไม่สูงนักเหมาะกับการใช้ในการเป็นพีทมอสแบบปลูก และพีทมอสแบบเพาะที่ไม่ต้องการความชื้นมากนั้น
รูป white peatmoss พีทมอสขาว
2 พีทมอสดำ (Black Peatmoss) คือพีทมอสที่อยู่ช้าล่างๆลงไปในในแผนภูมิ von post scale ประมาณ H5-H9 คุณสมบัติของพีทมอสดำ คือมีความมีความชื้นสูง มีสีออกดำ มีความละเอียดมาก เหมาะกับการใช้ในการเพาะต้นกล้า เราจะไม่เห็นผู้ผลิตใช้พีทมอสดำในการทำเป็นพีทมอสแบบปลูก เนื่องจากมีความละเอียดและทำให้แน่นเกินไป
รูป black peatmoss พีทมอสดำ
พีทมอสน้ำตาล (Brown Peatmoss) คือพีทมอสที่อยู่ระหว่างพีทมอสขาว กับพีทมอสดำในแผนภูมิ von post scale ประมาณ H4-H6 มีเพียงผู้ผลิตบางเจ้าเท่านั้นที่ระบ specication ของพีทมอสว่าเป็นพีทมอสน้ำตาล
โดยส่วนใหญ๋แล้วผู้หลิตจะทำการผสมพีทมอสขาวและพีทมอสดำเข้าด้วยกัน ในสัดส่วนที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังมีการเติมวัสดุอื่นๆเช่น perlite ไฟเบอร์ หรือ โคโค่พีท ลงไป (แล้วแต่สูตร)เพื่อให้ได้พีทมอสที่เหมาะสมกับการปลูกต้นไม้ในแต่ละชนิด ผู้ซื้อควรที่จะต้องศึกษา specification ของตัวสินค้าก่อนว่าเหมาะกับพืชที่เราจะเอาไปใช้เพาะหรือปลูกหรือไม่
ก็เหมือนกับดินปลูก หรือดินถุง ตามท้องตลาด เนื่องจากดินตามธรรมชาติมักจะมีข้อด้อย เช่นค่า ph ไม่เหมาะสม สารอาหารน้อย ทางผู้ผลิตดินถุงมักจะเติมวัสดุอื่นๆเข้าไปเช่นใบก้ามปู มูลไส้เดือน แกลบดิบ ปุ๋ยน้ำหมัก เป็นต้น ที่เรียกกันว่าการปรุงดิน เพื่อให้ดินปลูกที่จำหน่ายมีคุณสมบัติเหมาะกับการปลูกต้นไม้ พีทมอสที่วางจำหน่ายก็เช่นเดียวกัน ได้มีการปรับปรุงค่าต่างๆดังต่อไปนี้เพื่อให้เหมาะกับการเพาะและปลูกพืช
1. ผสมพีทมอสทั้งพีทมอสขาว (white peatmoss) และพีทมอสดำ (black peatmoss) เข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้ผลลัพธุ์ที่ต้องการ
2. ปรับแต่งค่่าph ให้เหมาะสมกับการปลูกพืช (6.0-6.5)
3. เพิ่มธาตุอาหารหลักของพืช(NPK Fertilizer) โดยการเติมปุ๋ยซึ่งมีทั้งสูตรเติมเป็นปุ๋ยเคมี หรือสูตรแบบเติมเป็นปุ๋ยอินทรีย์ (organic peatmoss)
4. เพิ่มธาตุอาหารเสริม
5. เพิ่มสารทำให้เปียก (wetting agent)เพื่อลดปัญหาพีทมอสขาดความชื้น
6. เพิ่มวัสดุเพาะและปลูกพืชอื่นๆ เช่น โคโค่พีท เพอร์ไลท์ ไฟเบอร์
โดยสูตรพีทมอสมีความหลากหลายและแต่ละสูตรก็เหมาะกับการเพาะและปลูกพืชที่แตกต่างกัน
พีทมอสสามารถแบ่งแยกตามการใช้งานได้เป็น 2 แบบคือ
รูปพีทมอสแบบเพาะ เทียบกับ พีทมอสแบบปลูก
1. พีทมอสเพาะเมล็ด คือพีทมอสที่ใช้ในการเพาะเมล็ด มีทั้งแบบพีทมอสขาว ความชื่นต่ำ หรือแบบพีทมอสดำ ความชื้นสูง ลักษณะเนื้อของพีทมอสเพาะเมล็ดจะมีความละเอียดสูง
2. พีทมอสปลูก คือพีทมอสที่ใช้ในการปลูกต้นไม้ สวนใหญ่จะผลิตมาจากพีทมอสขาว มีความชื้นไม่มาก แต่มีคุณลักษณะที่สำคัญคือมีความหยาบกว่า มีเส้นใย ไม่แน่น มีช่องว่างให้น้ำผ่านได้ดี และทำให้มีออกซิเจนเพียงพอกับรากพืช
รูปดินปลูกกระท่อมเทียบกับพีทมอสปลูกกระท่อม
พีทมอสที่จำหน่ายในท้องตลาด มีหลายยี่ห้อ หลายสูตร ถึงแม้พีทมอสจะเป็นวัสดุเพาะ และวัสดุปลูกที่ดีเยี่ยมเพียงใด แต่หากเลือกใช้ไม่เหมาะสมกับพืชที่จะใช้เพาะหรือปลูก ก็อาจจะได้ผลลัพธ์ไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็นได้ การเลือกซื้อพีทมอสมีหลักดังนี้
1. ต้องถามตัวเองก่อนว่าจะเอาพีทมอสมาเพาะเมล็ดหรือเอามาปลูกต้นไม้ในกระถาง ถ้าจะใช้เพาะเมล็ดก็ต้องใช้พีทมอสแบบเพาะ แต่ถ้าจะใช้ปลูกต้นไม้กระถางก็ต้องเลือกซื้อเป็นพีทมอสแบบปลูก
2. พีชที่ใช้ในการเพาะหรือปลูก เป็นพืชประเภทไหน ต้องการความชื่นมากหรือต้องการความชื่นน้อย
3. อัตราการให้น้ำ หากมีการให้น้ำน้อย ก็ควรจะเลือกพีทมอสที่มีความชื่้นสูงๆหน่อย แต่หากมีการให้น้ำบ่อย ก็สามารถใช้เป็นพีทมอสที่มีความชื่นไม่สูงมากก็ได้
4. ดู specification ของพีทมอส จะบอกส่วนผสมของพีทมอสสูตรนั้นๆ ว่ามี white peat เท่าไหร่ black peat เท่าไหร่ มีปุ๋ยเท่าไหร่ มีการเติมอะไรเพิ่มเติมเข้าไปบ้าง ตรงนี้เป็นข้อมูลบ่งชี้ที่สำคัญ ปกติจะมีเขียนระบุไว้ที่ด้านหลังของแพ็คเกจ
พีทมอสคืออะไร คลิก
พีทมอสขึ้นราใช้ได้ไหม คลิก
พีทมอสยี่ห้อไหนดี คลิก
พีทมอสมีกี่แบบ คลิก
พีทมอสประโยชน์ คลิก
พีทมอสวิธีใช้ คลิก
ใช้พีทมอสปลูกต้นไม้ได้ไหม คลิก
พีทมอสเก็บได้นานไหม คลิก
ดินพีทมอส คลิก
พีทมอสซื้อที่ไหน คลิก
พีทมอสนนทบุรี คลิก
พีทมอสคลาสแมน คลิก
พีทมอสเจียไต๋ คลิก
พีทมอสข้อเสีย คลิก