LINE it!
 @allkaset





  • โรคแอนแทรคโนส (Anthracnose)

    โรคแอนแทรคโนส เป็นโรคพืชที่ทําให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพ มีเชื้อราที่มีความสําคัญ เป็นสาเหตุของโรคแอนแทรคโนส อยู่ในจีนัส Colletotrichum ทําให้เกิดความสูญเสียกับพืชเศรษฐกิจ มีพืชอาศัยมากถึง 470 สกุล ทั้งพืชตระกูลถั่ว หญ้า ผัก ไม้ผลและไม้ประดับ ทําให้ผลผลิตเน่าเสียอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ไม่สามารถขนส่งระยะไกลได้ การระบาดของโรคเกิดขึ้นนรวดเร็วและรุนแรงในเขตที่มีอุณหภูมิและความชื้นสูง เชื้อราสามารถเข้าทําลายได้ทุกส่วนของพืชตั้งแต่ลําต้น ใบ ก้าน ดอก ผล และเมล็ด ทําให้เปอร์เซ็นต์การงอกลดลงถ้าเกิดกับต้นกล้าจะทําให้ต้นกล้าแห้งตายได้ ซึ่งการเข้าทําลายของในส่วน ราก และหัว ที่อยู่ใต้ดิน ทําให้เกิดโรคแอนแทรคโนสได้ โดยการเข้าทําลายของเชื้ออาจเป็นได้ทั้งแบบมีเชื้อหลายสปีชีส์เข้าทําลายพืชชนิดเดียว หรือเชื้อสปีชีส์เดียวเข้าทําลายพืชหลายชนิดก็ได้ เชื้อรา Colletotrichum spp.สามารถเข้าทําลายเซลล์พืชโดยตรงไม่ต้องผ่านช่องเปิดธรรมชาติหรือบาดแผล สามารถเข้าทําลายผลผลิต ตั้งแต่ระยะดอก ผลอ่อน โดยยังไม่แสดงอาการของโรค จัดเป็นการเข้าทําลายแบบแฝง(quiescent infection) จะแสดงอาการชัดเจนเมื่อผลผลิตแก่หรือเริ่มสุก ดังนั้น การเข้าทําลายจะเริ่มตั้งแต่อยู่ในแปลงปลูก โรคนี้พบกระจายอยูทั่วโลกโดยเฉพาะในเขตร้อนชื้นจะพบการระบาดอย่างรุนแรง การระบาดของเชื้ออาศัยลม ฝน หรือแมลงที่บินมาเกาะบริเวณแผลทําให่สปอร์แพร่กระจายไปยังที่ต่าง ๆ เมื่อถูกความชื้นก็สามารถงอกเจริญได้

    ลักษณะอาการของโรคแอนแทรคโนส

    อาการของโรคแอนแทรคโนส เริ่มจากจุดแผลแห้งเล็ก ๆ สีน้ำตาลแล้วค่อย ๆ เข้มขึ้นขยายออกเป็นวงกลมหรือวงรีซ้อนกันเป็นชั้น ๆ อาการของโรคจะเห็นชัดเจนในระยะที่ผลเริ่มสุกเมื่อมีความชื้นสูง จะพบการสร้างกลุ่มของสปอร์หรือ conidia สีส้มหรือสีชมพูเป็นหยดเหลวข้นบริเวณแผลโรคแอนแทรคโนสที่เกิดบนใบ ถ้าเกิดกับใบอ่อนทําให้ใบหงิกงออาการเริ่มจากจุดสีเทาและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มอยู่กระจัดกระจาย เนื้อเยื่อกลางแผลบางและฉีกขาดเป็นรู นอกจากนี้โรคแอนแทรคโนสยังสามารถเข้าทําลายกิ่ง ทําให้เกิดอาการไหม้ได้อีกด้วย

    ตัวอย่างโรคแอนแทรคโนส

    โรคแอนแทรคโนส
    บนผลมะนาว
    โรคแอนแทรคโนส
    บนผลอ่อนองุ่น
    โรคแอนแทรคโนสบนผลฝรั่ง
    โรคแอนแทรคโนส
    บนผลสตอเบอรี่
    โรคแอนแทรคโนส
    บนผลพริก
    โรคแอนแทรคโนส
    บนใบส้มโอ
    โรคแอนแทรคโนส
    บนใบมะม่วง
    โรคแอนแทรคโนสในหอม
    โรคแอนแทรคโนส
    บนใบพริกไทย
    โรคแอนแทรคโนส
    บนผลกล้วย
    โรคแอนแทรคโนส
    บนใบมันสำปะหลัง
    โรคแอนแทรคโนสบนฝักถั่วเหลือง

    โรคแอนแทรคโนสในพืชต่างๆ

    ���โรคแอนแทรคโนสในหน่อไม้ฝรั่ง เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum sp. แผลมีสีน้ำตาลวงกลมซ้อนกัน ขอบแผลรอบนอกช้ำ สีเขียวเข้ม แผลยุบลงตามความยาวของลำต้น เชื้อราเจริญออกมาเป็นตุ่มสีดำตามแนววงกลมที่ซ้อนๆกัน ต้นเป็นโรคจะแห้งตาย ระบาดรุนแรงในฤดูฝน
    �������โรคแอนแทรคโนสแตงโม สาเหตุเกิดจากเชื้อราColletotrichum lagenarium (Pass.) อาการแรกๆ ที่ใบเป็นจุดเหลืองเล็กๆ หรือจุดฉ่ำน้ำ ซึ่งจะขยายใหญ่อย่างรวดเร็ว และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม จนถึงดำในแตงโม อาการที่ลำต้น แผลขยายยาวเปลี่ยนเป็นสีดำ ใบร่วง อาการที่ผลอ่อนอาจจะเปลี่ยนเป็นสีดำ ร่วง แตงโมผลใหญ่จะมีจุดแผลฉ่ำน้ำสีดำ ทำให้ผลเน่า
    �������โรคแอนแทรคโนสในหอม สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides Penz. เป็นโรคที่มีความสำคัญที่สุดในหอม อาการมักเริ่มเกิดที่โคนใบ ทำให้ใบหักงอ แผลขยายลามออกไปเป็นวงๆขอบวงมีสีเหลืองจาง มีสปอร์ เกิดขึ้นภายในวงนั้น บางครั้งหอมต้นเล็กใบม้วนงอและบิดเป็นเกลียว ใบทอดนอนยาวอยู่ตามพื้น โรคเข้าทำลายถึงหัวทำให้หอมไม่ลงหัว และต้นเลื้อยได้ ต้นจะเตี้ยสั้นหัวเล็ก มีแผลที่หัวซึ่งกินลึกลงในเนื้อทำให้ส่วนโคนต้นแข็ง ผลผลิตไม่มีคุณภาพ เก็บรักษาได้ไม่นาน โรคมักเกิดรุนแรงในช่วงฤดูฝน
    �������โรคแอนแทรคโนสในทุเรียน สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Colletotrichum zibethinum Sacc. อาการบนใบแผลเป็นจุดวงสีน้ำตาลแดงซ้อนกัน ลมและฝนพัดพาโรคจากใบและกิ่งสู่ดอก ในระยะช่อดอกบานจะถูกทำลายโดยเชื้อรา ทำให้ดอกเน่าก่อนบาน มีราสีเทาดำ เจริญฟูคลุมกลีบดอก ทำให้ดอกแห้งร่วงหล่นไป
    �������โรคแอนแทรคโนสในมะม่วง สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides Penz.อาการบนใบอ่อนเริ่มจากการเป็นจุดชุ่มน้ำและเปลี่ยนเป็นสีดำต่อไป บริเวณที่เป็นแผลจะหดตัวเล็กลงเล็กน้อยจนดึงให้ใบบิดเบี้ยว ใบแก่ขนาดของจุดจะมีขนาดคงที่ค่อนข้างเป็นเหลี่ยม เมื่อมะม่วงแทงช่อดอก เชื้อจะเข้าทำลายที่ช่อดอก ทำให้ช่อดอกแห้ง ดอกร่วง ช่อที่ติดผลอ่อนรวมทั้งผลแก่จะมีแผลเน่าดำ ในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง จะมีสปอร์สีชมพูเกิดขึ้นตามแผลที่เป็นโรค
    �������โรคแอนแทรคโนสในกาแฟ สาเหตเกิดจากเชื้อราGlomerella cingulata แบบใช้เพศ (teleemorph) หรือเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides แบบไม่ใช้เพศ (asexual stage-anamorph) อาการที่ใบไหม้มีสีเหลืองและน้ำตาล ใบที่เป็นโรคที่หลุดจากขั้วแต่ยังคงห้อยติดกับกิ่งโดยมีเส้นใยขาวๆยึดไว้ อาการลามไปที่กิ่งทำให้กิ่งแห้ง และผลเน่าเป็นสีน้ำตาล คล้ายโดนแดดเผา อาการที่ใบบางครั้งอาจจะสับสนกับอาการที่เกิดจากโรคราสนิมได้
    �������โรคแอนแทรคโนสในพริกไทย สาเหตุ เชื้อรา Colletotrichum nigrum Eliss & Halst. อาการที่เกิดบนใบแผลสีน้ำตาลขอบแผลเป็นสีเหลือง พื้นแผลเกิดเป็นวงสีน้ำตาลดำซ้อนกันหลายวง คล้ายวงปีของเนื้อไม้ อาการที่ใบมักเริ่มเกิดที่ปลายใบ แต่ก็พบเกิดที่ส่วนอื่นๆของใบด้วยเช่นเดียวกัน โรคยังเกิดที่ก้านใบและลำต้น ลักษณะเป็นจุดสีดำ บุ๋ม แข็ง ผิวเป็นมัน อาการที่ดอกและผล เชื้อเข้าทำลายได้ตั้งแต่พริกไทยเริ่มแทงช่อดอกจนถึงระยะติดเมล็ด หรือผลอ่อนๆ ทำให้ผลเน่ายุบตัวลง เป็นโรคที่สร้างความเสียหายแก่ผลผลิตโดยตรง
    �������โรคแอนแทรคโนสในมะลิ สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Colletotrichum sp.อาการที่ใบมักเริ่มเกิดจากปลายใบ แต่ก็อาจเกิดเป็นจุดๆ เริ่มจากบริเวณอื่นได้ ใบมีอาการแห้งเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและลุกลามเข้าสู่เนื้อใบอย่างรวดเร็ว แผลมีลักษณะเป็นริ้วๆ สีเข้มต่างกันตามอายุของแผลที่ขยายใหญ่ขึ้น โรคนี้เป็นมากในช่วยที่มีความชื้นสูง
    �������โรคแอนแทรคโนสในต้นหน้าวัว สาเหตุ เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides (Penz.) Sacc.อาการที่ใบ และจานรองดอก เป็นแผลจุดสีน้ำตาล ค่อนข้างกลม เมื่อสภาพอากาศร้อนชื้น แผลขยายใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว ขอบแผลมีสีน้ำตาลเข้ม รอบนอกมีสีเหลืองจาง มีกลุ่มราขึ้นเห็นเป็นจุดสีดำเล็กๆเป็นวงซ้อนกันออกไปจากกลางแผล
    �������โรคแอนแทรคโนสกล้วยไม้ สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides Penz. หรือ Colletotrichum sp. อาการแผลที่ใบมักเริ่มเกิดที่ปลายใบลามเข้าสู่เนื้อใบ อย่างไรก็ตามเชื้ออาจทำลายส่วนอื่นของใบก่อนก็ได้เช่นเดียวกัน แผลมีรอบเป็นวงๆซ้อนกัน มักมีกลุ่มของเชื้อราสีดำเกิดขึ้นตามวง ขอบแผลมีสีเหลืองอ่อน
    �������โรคแอนแทรคโนสกุหลาบ สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides Penz. อาการบนใบเป็นแผลรูปไข่ สีน้ำตาลเข้มเป็นวงซ้อนๆกันหลายชั้น แผลมักเริ่มเกิดจากปลายใบ หรือกลางใบ ขอบแผลมีสีเหลืองอ่อนๆ แผลอาจลุกลามไปที่ก้านใบ ก้านดอก และกิ่งได้

    โรคแอนแทรคโนสในพืชตระกูลพริก

    โรคแอนแทรคโนส หรือโรคกุ้งแห้งพริก (Collectotrichum sp.)
    นับว่าเป็นโรคที่ สำคัญของเกษตรกรผู้ปลูกพริกเป็นอย่างมาก เพราะเป็นโรคประจำตัวของพริกเลยก็ว่าได้ โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Collectotrichum sp. ที่พบเข้าทำลายพริกก็มีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน คือ

    1. Collectotrichum gloespoloides เข้าทำลายพริกผลใหญ่เป็นหลัก
    2. Collectotrichum capcisi เข้าทำลายพริกผลเล็ก (พริกในกลุ่มพริกขี้หนู) เป็นหลัก
    3. Collectotrichum piperatum เข้าทำลายพริกยักษ์ (พริกหวาน) เป็นหลัก

    ลักษณะอาการผลพริกที่เป็นโรคแอนแทรคโนส

    ผลพริกจะมีอาการเริ่มเป็นแผลหรือจุดช้ำเป็นแอ่งยุบลง ลักษณะอาจกลมหรือไม่แน่นอน ขนาดก็ตั้งแต่จุดเล็กๆ ไปจนเต็มความกว้างของผลพริก อาจมีเพียงแผลเดียวหรือหลายแผลก็ได้ แผลเหล่านี้ต่อมาจะแห้งเป็นสีนํ้าตาลหรือดำพร้อมกับการสร้าง fruiting body ซึ่งเป็นที่เกิดของสปอร์หรือโคนิเดีย เป็นจุดสีเหลืองส้มหรือน้ำตาลดำเป็นวงๆ เรียงซ้อนกันอยู่ที่แผลดังกล่าวเชื้อจะเข้าทำลายผลพริกได้ทุกระยะการเจริญตั้งแต่เริ่มเป็นผลเล็กๆ จนโตเต็มที่และสุกแดงแล้ว อย่างไรก็ดีหากเป็นระยะที่ยังอ่อนเซลล์บริเวณแผลซึ่งถูกทำลาย จะหยุดการเจริญเติบโตขณะเดียวกันส่วนรอบๆ จะเจริญไปเรื่อยๆ ทำให้เกิดอาการคดโค้งงอหรือบิดเบี้ยวขึ้นโดยมีแผล หรือเซลล์ที่ตายอยู่ด้านใน ลักษณะคล้ายกุ้งแห้งทำให้มีชื่อ เรียกดังกล่าว

    การป้องกันและการกำจัดโรคแอนแทรคโนสในพริก

    1. ทำลายส่วนที่เป็นโรค โดยการนำไปเผาทิ้ง
    2. ไม่ใช้เมล็ดพันธุ์จากต้นที่เป็นโรคมาปลูก
    3. ในแหล่งที่มีการระบาด ควรปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อตัดวงจรการระบาด
    4. หลีกเลี่ยงการปลูกในแหล่งที่เคยเป็นโรคมาก่อน
    5. ก่อนปลูกแช่เมล็ดในน้ำอุ่น 49 องศาเซลเซียส นาน 20นาทีเพื่อฆ่าเชื้อที่ติดมากับเมล็ด
    6. พ่นด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า อัตราส่วน 1 กก./น้ า 200 ลิตร พ่นซ้ า 2-3 ครั้ง ห่างกัน 3-5 วัน หรืออัตราส่วนที่ระบุตามฉลาก
    7. เมื่อสำรวจพบอาการของโรค ควรพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชเป็นระยะๆ เช่น คาร์เบนดาซิม, โพรคลาราซ, ไตรฟลอกซีสโตรบิน, โพรพิเนบ


    โรคแอนแทรคโนส( 3 รายการ )

    แอนทราโคล

    โพรพิเนบ
    รหัสสินค้า A2590
    ไม่ระบุ

    209.00 - 229.00 ฿
    ซื้อ 3 ครั้งแรก ส่วนลดค่าส่ง

    แอนทราโคล

    โพรพิเนบ
    รหัสสินค้า A109
    ไม่ระบุ

    415.00 - 435.00 ฿
    ซื้อ 3 ครั้งแรก ส่วนลดค่าส่ง

    แอนทราโคล

    โพรพิเนบ
    รหัสสินค้า A109
    ไม่ระบุ

    415.00 - 435.00 ฿
    ซื้อ 3 ครั้งแรก ส่วนลดค่าส่ง