![]() |
�������ตัวเต็มวัย เป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็กมาก ความกว้างเมื่อกางปีกออกทั้งสองข้างประมาณ�6.0 - 8.0�มิลลิเมตร ลำตัวสีนวล แวววาว เพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ บริเวณใกล้เส้นกลางใบ ส่วนใหญ่จะพบด้นใต้ใบมากกว่าด้านบนใบ |
![]() |
�������ไข่�มีลักษณะคล้ายหยดน้ำ สีเหลืองอมเขียวใส |
![]() |
�������หนอน�ออกจากไข่แล้วจะเจาะเข้าใต้ผิวใบทันที หนอนสีเหลืองอ่อน จนเหลืองเข้ม ระยะสุดท้ายจะถักใยยึดริมขอบใบพับมาคลุมตัวแล้วเข้าดักแด้ |
![]() |
�������ดักแด้�สีเหลืองเข้มจนถึงน้ำตาล มีหนามแหลมที่ปลายส่วนหัว อยู่ในบริเวณทรงพุ่มของต้นส้ม อาจพบตามพงหญ้าใต้ต้นด้วย |
หนอนชอนใบ เป็นตัวอ่อนของผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ความกว้างขณะกางปีกออกเพียง 0.8 มิลลิเมตร เท่านั้น เพศเมียตัวเต็มวัยหลังผสมพันธฺุ์แล้ว บินมาวางไข่ที่ผิวใบอ่อนของมะนาว ที่มีอายุ 1-7 วัน ไข่มีขนาดเล็กกว่าหัวเข็มหมุด หากไม่สังเกตจะมองไม่เห็น รูปร่างกลมรี สีเหลืองใส ไข่ฟักออกเป็นตัวภายในเวลา 3 วัน แล้วเจาะเข้าไปชอนไชภายในใบอ่อน เพื่อดูดกินน้ำเลี้ยงและเซลล์อ่อนของใบระยะเป็นตัวหนอน 7-10 วัน จากนั้นจะเข้าดักแด้เป็นเวลา 5-10 วัน อยู่ในใบ ก่อนฟักออกเป็นผีเสื้อตัวเต็มวัย
ลักษณะการทำลาย มองเห็นเป็นทางสีขาว คดเคี้ยวไปมาตามทางที่ตัวหนอนเคลื่อนผ่าน ต่อมาใบจะหงิกงอ การระบาดรุนแรง ใบและต้นจะแคระแกร็น
การระบาด เกิดขึ้นได้ตลอดปี แต่มักจะระบาดรุนแรงระหว่างเดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนกันยายน โดยหนอนชอนใบจะเข้าทำลายทั้งมะนาว ส้มโอ ส้มเขียวหวาน และพืชอื่นบางชนิด ประการสำคัญ หนอนชอนใบยังเป็นตัวเร่งให้เกิดการระบาดของโรคแคงเกอร์อีกด้วย
![]() |
![]() |
![]() |
หนอนชอนใบถั่วฝักยาว |
หนอนชอนใบบวบ |
หนอนชอนใบมะเขือเทศ |
![]() |
![]() |
![]() |
หนอนชอนใบฟักทอง |
หนอนชอนใบมังคุด |
หนอนชอนใบมะนาว |
![]() |
![]() |
![]() |
หนอนชอนใบส้ม |
หนอนชอนใบเมล่อน |
หนอนชอนใบส้ม |