LINE it!
 @allkaset





  • โรคราน้ำค้าง (Downy mildew)

    โรครานํ้าค้าง พบทั่วไปในแหล่งปลูกต่างๆ ที่มีความชื้นสูง เป็นโรคที่ระบาด ทำความเสียหายได้มาก โรคเกิดได้ทั้งที่ใบ ผล กิ่งก้านต่างๆ ทำให้เซลตาย ใบร่วง ผลผลิตคุณภาพตํ่า ต้นอ่อนแอและแคระแกรน ต้นอ่อนอาจตายได้ หากสภาพแวดล้อมเหมาะสม พืชอาจได้รับความเสียหาย 50-75 %

    ตัวอย่างโรคราน้ำค้าง

    ราน้ำค้างในกะหล่ำปลี
    ราน้ำค้างในกุหลาบ
    ราน้ำค้างในข้าวโพด
    ราน้ำค้างในถั่วเหลือง
    ราน้ำค้างในแตงกวา
    ราน้ำค้างในองุ่น
    ราน้ำค้างในกุหลาบ
    ราน้ำค้างในแคนตาลูป
    ราน้ำค้างในแตงโม

    โรคราน้ำค้างในองุ่น
    สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Plasmopara viticola ใบองุ่นระยะใบเขียวอ่อนปรากฏจุดสีเหลืองด้านบนใบ ในองุ่นบางสายพันธุ์อาจมีจุดขนาดต่างกัน ด้านใต้ใบตรงข้ามจุดเหลืองจะพบปุยสีขาวของเชื้อราเป็นจำนวนมาก ในสภาพอากาศที่แห้งแล้งเป็นระยะเวลานานหรือได้รับการฉีดพ่นสารควบคุมเชื้อราปุยสีขาวของเชื้อรามักฝ่อแห้งไป องุ่นบางพันธุ์อาการของโรคถูกจำกัดโดยเส้นใบมีลักษณะเป็นจุดเหลี่ยม จุดเหลืองด้านบนใบแก่จะเห็นไม่ชัด เชื้อราเข้าทำลายยอดทำให้โค้งงอคล้ายไม้เท้ามีเชื้อราสีขาวปกคลุม เชื้อราที่ช่อดอกจะมีปุยสีขาวจับ ช่อดอกแห้งร่วงอย่างรวดเร็ว เชื้อราทำให้ผลอ่อนฝ่อแฟบผลร่วง เนื้อเยื่อแข็งเป็นแอ่งบุ๋มบนผลที่โตแล้วเรียกว่า Grey rot
    โรคราน้ำค้างในแคนตาลูป
    สาเหตุโรค : Pseudoperonospora cubensis อาการส่วนใหญ่จะเกิดบนใบ โดยจะเริ่มจากจุดแผลสีเขียวซีดขึ้นก่อน ต่อมาจะค่อยๆ ขยายโตขึ้นเป็นสีเหลืองและมีขอบเขตเป็นเหลี่ยมตามแนวหรือข่ายของเส้น vein ขณะเดียวกันหากความชื้นในอากาศสูง เช่น ในระยะที่มีฝนปรอย หรือหมอกนํ้าค้างจัด ทางด้านใต้ใบตรงกับจุดแผลที่เกิดขึ้น จะพบกลุ่มของเส้นใยและสปอร์ของเชื้อสาเหตุลักษณะเป็นขุย หรือผงสีเทา ซึ่งเมื่อแก่หรือแผลแห้งจะเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาล ในกรณีที่เกิดโรครุนแรงและสิ่งแวดส้อมเหมาะสม ใบส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในต้นอาจถูกเชื้อเข้าทำลายอย่างรุนแรง ทำให้ใบทั้งใบแห้งตาย ต้นจะโทรมอาจถึงตายได้ทั้งต้น สำหรับลูกแตงมักจะไม่ถูกเชื้อเข้าทำลายโดยตรง แต่เมื่อต้นเป็นโรคก็จะมีผลทางอ้อม เช่น เจริญเติบโตไม่เต็มที่ แกร็น คุณภาพและรสเสียไป
    ราน้ำค้างในกุหลาบ
    เชื้อสาเหตุเกิดจากเชื้อรา Peronospora spasa ลักษณะการทำลาย อาการ จะแสดงบน ใบ กิ่ง คอดอก กลีบเลี้ยง และกลีบดอก การเข้าทำลายจะจำกัดที่ส่วนอ่อน หรือส่วนยอด ที่ใบเพสลาด ( ใบกึ่งแก่กึ่งอ่อน ) ใบจะมีสีอ่อนกว่าธรรมดา และกระด้าง ใบจะเกิดจุดสีม่วงแดงหรือน้ำตาล ต่อมาขยายวงกว้างออกไปและถูกจำกัดด้วยเส้นใบ จึงเห็นเป็นรูปสี่เหลี่ยม ใบจะเหลืองและร่วงหล่นอย่างรวดเร็ว เมื่อสภาพอากาศมีความชื้น และเย็น ด้านหลังใบบนแผลสีน้ำตาลจะเห็นเส้นใยหยาบๆ สีขาวอมเทา เจริญเป็นกระจุกอยู่ด้านหลังของใบ เมื่อเขี่ยดูจะพบสปอร์สีขาว หากสภาพอากาศไม่เหมาะสม มักจะสังเกตเห็นสปอร์ได้ยาก
    โรคราน้ำค้างในข้าวโพด
    เกิดจากเชื้อ Peronosclerospora sorghi เข้าทำลาย ข้าวโพดตั้งแต่งอกจนถึงอายุประมาณ 1 เดือน ในระยะที่มีฝนตกชุก ลักษณะอาการเป็นทางยาวสีเหลืองแคบๆ ไปตามความยาวของใบหรือเป็นแบบ systemic เห็นเป็นทางลายสีเหลือง เขียวอ่อน สลับกันเป็นทางยาว เมื่อนานเข้า รอยสีเหลืองจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเกิดเป็นอาการใบไหม้ แห้งตายในที่สุด บริเวณผิวใบโดยเฉพาะด้านล่างจะมีเส้นใยสีขาว ของเชื้อรา จับเป็นฝ้าเห็นได้ชัดเจน ในตอนเช้าตรู่ซึ่งมีน้ำค้างจัด ลำต้นแคระแกรน ต้นเตี้ย ใบผอม ข้อสั้น ฝักมักมีขนาดเล็กลง เมล็ดติดน้อยหรือไม่ติดเลย ช่อดอกหรือยอดอาจจะแตกเป็นพุ่ม

    โรคราน้ำค้างในพืชตระกูลแตง

    �������เกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อรา Pseudoperonospora cubensis สามารถเข้าทำลายได้เฉพาะในพืชวงศ์แตงอาการจะเกิดเป็นปื้นเหลืองบนใบ ด้านหลังของใบอาจมองเห็นกลุ่มของเส้นใยหรือมองไม่เห็นด้วยตา จากนั้นปื้นสีเหลืองจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล โดยเริ่มเปลี่ยนจากกลางแผลออกไป โรคราน้ำค้างมักจะเกิดขึ้นในเขตอบอุ่นและเขตร้อนชื้นที่มีปริมาณน้ำฝนและน้ำค้างพอเพียงกับระยะเวลาที่จะก่อให้เกิดการระบาดของโรคขึ้นได้ สภาพอากาศเหมาะต่อการเจริญของเชื้อคือ อุณหภูมิ 16-22 องศาเซลเซียส และความชื้นสูง จะทำให้มีการระบาดของโรคอย่างรวดเร็วทำให้ ใบของแตงแห้งและทำให้ต้นตาย ถ้าหากควบคุมโรคได้ไม่ดี จะก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงทั้งในสภาพการปลูกในแปลงเปิด ในโรงเรือน และในสภาพการปลูกแบบอื่นๆ


    ลักษณะอาการของโรค

    - โดยตอนต้นจะพบจุดสีน้ำตาลหรือเหลือง จุดเล็กๆ และค่อยๆ ขยายใหญ่ขึ้นเป็นปื้นสีเหลือง
    - ส่วนใหญ่จะพบที่ใบล่าง หรือใบแก่ หรือโคนเถา
    - ในเช้ามืดจะเห็นเส้นใยเชื้อราสีออกขาวๆ ที่หลังใบ
    - ขอบใบจะม้วนและร่วง
    - ปื้นสีเหลืองนั้นต่อไปจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล โดยเริ่มเปลี่ยนจากกลางแผลออกไป
    - ในเมลอน แคนตาลูปและแตงโม จะทำให้ความหวานลดลง

    อาการด้านหลังใบ
    อาการบนใบ
    อาการของโรคระยะรุนแรง
    อาการที่ผล
    กลุ่มของเชื้อราเป็นผงสีขาว
    หรือสีเทาบนใบ


    ในช่วงที่มีอากาศชื้นให้หมั่นพลิกดูด้านท้องใบจะมีขุยของราสีขาวหม่นคล้ายผงแป้ง และจะระบาดรุนแรงและรวดเร็วเมื่อแตงอยู่ในระยะกำลังให้ผล ทำให้เถาแตงตายไปก่อนที่จะเก็บเกี่ยว ควรหาทางป้องกันก่อนที่จะลุกลาม


    การแพร่ระบาด
    สิ่งแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมการเกิดและความรุนแรงของโรคก็เช่นเดียวกับราน้ำค้างทั่วๆ ไป คือ ชอบอุณหภูมิที่ค่อนข้างเย็นและความชื้นสูงในการเกิด และการเข้าทำลายพืช โรคราน้ำค้างของแตงจะเจริญเติบโตระบาดได้ดีในช่วงของอุณหภูมิระหว่าง 16-27 องศาเซลเซียส แต่จะดีที่สุดที่ 20 องศาเซลเซียสส่วนความชื้นนั้นต้องสูงเกินกว่า 86% ขึ้นไป

    การป้องกันกำจัดโรคราน้ำค้างแตงกวา
    �����1. ขจัดทำลายวัชพืชพวกแตงต่างๆ และต้นที่งอก หรือหลงเหลือจากการเก็บเกี่ยวให้หมดจากบริเวณหรือแปลงปลูก
    �����2. เมื่อปรากฏมีโรคเกิดขึ้นในแปลงปลูกให้รีบป้องกันการระบาดเพื่อรักษาต้นที่ยังดีอยู่โดยการใช้สารเคมี เช่น บาซิลัส ซับทิลิส ,ฟลูโอพิโคโล+ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม, อีทาบ็อกแซม, ไซม๊อกซานิล+ฟาม็อกซาโดน, แมนโคเซบ+แมนดิโพรพามิด, ไซม็อกซานิล+แมนโคเซบ, คลอโรทาโลนิล


    ***การฉีดพ่นสารเคมีดังกล่าว ควรทำทันทีเมื่อเริ่มมีโรคเกิดขึ้น สำหรับการป้องกันควรทำหลังจากต้นแตงเกิดใบจริงแล้ว 2-5 ใบ โดยทำการฉีดทุกๆ 5 วัน หรือ 2 ครั้งใน 1 อาทิตย์ หากสิ่งแวดล้อมเหมาะสม และทำต่อเนื่องไปจนกระทั่งพืชแข็งแรงพ้นระยะการระบาดของโรค
    ����� 3. สำหรับในกรณีเกษตรกรปลูกผักอินทรีย์ ให้ใช้น้ำส้มควันไม้ฉีดพ่น สามารถลดการระบาดได้ดีเช่นกัน
    ����� 4. วิธีป้องกันโรคที่ดีที่สุดคือเลือกปลูกพันธุ์ที่มีความต้านทานต่อโรค

    โรคราน้ำค้างในพืชตระกูลกะหล่ำ

    สาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อรา Peronospora parasitica ชนิดพืชที่เกิดโรคได้แก่ กวางตุุ้ง กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี คะน้า บร๊อค โคลี่ ผักกาดขาวปลี ผักกาดเขียว และผักกาดหัว เป็นต้น

    ลักษณะอาการของโรค


    จะพบกลุ่มของเชื้อราเป็นผงสีขาวหรือสีเทาบนใบต่อมาด้านหลังใบจะเกิดแผลสีเหลืองต่อมาเป็นสีน้ำตาล แผลค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขอบไม่แน่นอน ถ้าเป็นรุนแรง แผลจะมีจำนวนมาก ใบจะเหลืองและแห้งตาย ใบที่อยู่ตอนล่างๆ จะมีแผลเกิดก่อน แล้วลามระบาดไปยังใบที่สูงกว่า ในต้นอ่อนจะเริ่มมีแผลสีเหลืองที่ใบเลี้ยง และมักจะหลุดร่วงไป อาจจะทำให้ต้นเติบโตช้า โทรมอ่อนแอและตายได้ ในผักที่ใบห่อเป็นหัว ใบที่ห่อจะเกิดเป็นแผลจุดสีดำเป็นแอ่งลงไป อาจมีขนาดเล็กถึงใหญ่ ในกะหล่ำดอกและบร๊อคโคลี่ เชื้ออาจเข้าทำลายที่ช่อดอก ทำให้เกิดแผลสี น้ำตาลดำที่ผิวนอกสุด เป็นหย่อมๆ หรือทั่วทั้งดอก ถ้าเป็นโรครุนแรง ถ้าโรคระบาดในระยะติดฝักอ่อน ก็มีแผลเช่นเดียวกับแผลที่เกิดบนใบ ฝักไม่สมบูรณ์



    การแพร่ระบาด
    สปอร์ของเชื้อราจะปลิวไปตามลมหรือติดไปกับสิ่งเคลื่อนไหวต่างๆ แล้วตกลงบนใบพืชเข้าทำลายพืชทางปากใบ อยู่ข้ามฤดูปลูกโดยสร้างสปอร์ (ส่วนขยายพันธุ์)ผนังหนา (oospora) ซึ่งติดอยู่ตามเศษซากพืชหรืออาศัยกับต้นที่งอกเองนอกฤดู และติดไปกับเมล็ดที่ใช้ทำพันธุ์สภาพที่เหมาะต่อการเกิดโรค ความชื้นสูง อุณหภูมิระหว่าง 20-24 องศาเซลเซียส มีหมอกหรือน้ำค้างลงจัด


    การป้องกันกำจัด
    1.ใช้เมล็ดพันธุ์ปราศจากเชื้อ หรือแช่เมล็ดในน้ำร้อน 50 อง เซลเซียส 20-30 นาที ก่อนปลูก หรือคลุกเมล็ดด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เมตาแลกซิล หรือ เมตาแลกซิล+แมนโคเซบ ก่อนปลูก
    2.ไม่ปลูกผักซ้ำที่เดิมเคยมีการระบาดของโรค โดยปลูกพืชหมุน เวียนอย่างต่ำ 3-4 ปี
    3.ควรปลูกพืชให้มีระยะห่างพอสมควรอย่าให้แน่นเกินไป
    4.หลังจากเก็บเกี่ยวควรทำลายเศษซากพืชหรือพืชที่งอกเองให้หมด
    5.เมื่อพบอาการบนใบควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น บาซิลัส ซับทิลิส, เมตาแลกซิล+แมนโคเซบ, ไซบ็อกซามิล+แมนโคเซบ, ออกซาไดซิล+แมนโคเซบ, โพรพิเนบ+ไซม็อกซามิล เป็นต้น
    ***หมายเหตุ โรคนี้ไม่ทำให้ต้นตาย ผักรับประทานใบ เช่น คะน้า ผักกาด ฯลฯ น้ำหนักลด เพราะต้องตัดใบเป็นโรคออกเสีย ทำให้ผลผลิตตกต่ำ กะหล่ำปลีมักเสียหายในระยะก่อนห่อเป็นหัว เมล็ดจากผักที่เป็นโรคไม่ควรเก็บไว้ทำพันธุ์ ผักหลายชนิดในตระกูลนี้พบเป็นโรคเดียวกัน



    โรคราน้ำค้าง( 4 รายการ )

    แอนทราโคล

    โพรพิเนบ
    รหัสสินค้า A109
    ไม่ระบุ

    415.00 - 435.00 ฿
    จัดส่งฟรี เงื่อนไข

    เอสโตเคด

    แมนโคเซบ+วาลิฟีนาเลท
    รหัสสินค้า A440

    90.00 - 99.00 ฿
    จัดส่งฟรี เงื่อนไข

    เมอร์แพน 5 กิโลกรัม

    แคปแทน (Captan)
    รหัสสินค้า A11549
    ไม่ระบุ

    1,630.00 - 1,650.00 ฿
    จัดส่งฟรี เงื่อนไข

    แอนทราโคล

    โพรพิเนบ
    รหัสสินค้า A2590

    209.00 - 229.00 ฿
    จัดส่งฟรี เงื่อนไข