สาเหตุเกิดจากเชื้อราหลายชนิดเช่น Phytophthora spp. Sclerotium spp. หรือเห็ดราใน Class Ascomycetesและ Basidiomycetes โรคนี้ระบาดมากในฤดูฝน หรือสภาพที่มีความชื้นสูงแพร่ระบาดโดยสปอร์เชื้อราโดยเฉพาะต้นไม้ที่ปลูกในบริเวณที่ชื้นแฉะตลอดเวลา
ลักษณะอาการ
�������ต้นไม้ที่เกิดโรครากเน่าจะสังเกตเห็นได้ว่าอาการใบจะมีสีเหลืองซีดถึงเหลือง โดยเริ่มที่เส้นกลางใบก่อนแล้วลุกลามไปเรื่อย ๆ จากโคนใบไปถึงยอด ใบจะเขียวม้วนงอเมื่อโดนแดดจัด ๆ ในตอนกลางวัน หรือใบเหี่ยวคล้ายขาดน้า ใบจะร่วงกิ่งแห้งตายผลมีสีเหลืองร่วงหล่นง่ายเมื่อขดุ ดูที่รากจะพบว่ารากฝอยเน่าราก ถอดปลอก มีกลิ่นเหม็น รากแขนงหรือรากขนาดโตเน่าเปื่อยยยุ่ และลุกลามไปทั่ว ใบแห้ง ผลร่วงถ้าเป็นมากอาจถึงต้นตายได้ในเวลารวดเร็ว นอกจากนั้นยังมีสาเหตุอื่น ๆ อีกที่ทำให้ร้ากเน่า เช่น น้ำท่วมขัง การใช้สารเคมีผิด และพิษจากปุ๋ยเคมี เป็นต้น
นอกจากนี้อาการโรครากเน่า หรือรากเปื่อยเกิดจากเห็ดราที่ทำลายไม้ได้เช่นกัน เห็ดราหลายชนิดเป็ นสมาชิกใน Class Ascomycetesและ Basidiomycetes สามารถทำลายส่วนที่เป็นแก่นไมและกระพี้ของไม้โดยปล่อยเอ็นไซมอ์อกมาย่อยสลายส่วนประกอบของไม้จะเห็นว่าส่วนมากเห็ดราจะทำลายส่วนที่มีอาหารมากคือ ทำลายกระพี้ก่อนแลว้จึงทำลายถึงแก่นไม้เมื่ออยู่ในสภาพที่เหมาะสมจะเจริญและงอกเส้นใยแทงทะลุไปในเนื้อไม้ทำให้เนื้อไม้ผุพัง เส้นใยจะเข้าไปภายในเนื้อไม้ได้มากขึ้น ซึ่งการเข้าทำลายและทำให้ไม้ผุพังแบ่งออกได้2 ระยะคือ
�
ลักษณะของโรครากเน่า ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองซีดทั้งต้น โคนราก รากแขนง และรากฝอยเปื่อยเน่า
ลักษณะของเนื้อไม้ที่ผุเน่า มีลักษณะชุ่มน้ำ และเนื้อไม้หลุดออกไดง่าย
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
โรครากเน่าในข่า |
โรครากเน่าในสตรอเบอรี่ |
โรครากเน่าในพริก |
โรครากเน่าในผักสลัด |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
โรครากเน่าในแคคตัส |
โรครากเน่าในทุเรียน |
โรครากเน่าในโคมญี่ปุ่น |
โรครากเน่าในจำปี |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
โรครากเน่าในชวนชม |
โรครากเน่าในปรง |
โรครากเน่าในมันสำปะหลัง |
โรครากเน่าในมะนาว |
สาเหตุของโรค |
ลักษณะอาการ |
การแพร่ระบาด |
เกิดเนื่องจากการทำลายของเชื้อราไฟทอฟธอรา (Phytophthora���parasitica�Dastur) � |
มะนาวเจริญไม่เต็มที่ ไม่ค่อยแตกใบ และบางครั้งอาจพบอาการใบอ่อนเหี่ยวคล้ายขาดน้ำ ใบเหลืองตรงบริเวณเส้นกลางใบร่วงกิ่งแห้งตายจากปลาย ผลมะนาวเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและอาจร่วง� เมื่อขุดรากดูพบว่ารากเน่าเป็นสีน้ำตาลแดงหรืออมส้ม เหนียว ไม่ยุ่ย สำหรับต้นมะนาวใหญ่ (อายุ 2-4 ปีขึ้นไป) บางครั้งอาจพบอาการเปลือกปริแตกตามบริเวณโคนต้น ส่วนเปลือกมักมีสีคล้ำ ค่อนข้างฉ่ำน้ำและอาจพบอาการยางไหลตรงบริเวณรอยแผลนั้น เมื่อถากส่วนเปลือกออกดูจะพบว่าเปลือกเน่าและยุ่ยมีแผลสีน้ำตาลหรือน้ำตาลแดงตรงบริเวณเนื้อโคนต้น |
เชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคอาศัยอยู่ในดินและน้ำ แพร่กระจายโดยติดไปกับดินหรือส่วนของมะนาวที่เป็นโรค และสปอร์ซึ่งเป็นหน่วยขยายพันธุ์ของเชื้อราสามารถแพร่กระจายไปกับน้ำที่ไหลผ่านรากหรือโคนต้นที่เป็นโรคทำให้เกิดการแพร่ระบาดไปยังแหล่งอื่นๆได้� พบโรคนี้ระบาดรุนแรงมากในมะนาวที่ปลูกแบบยกร่อง ส่วนโรครากเน่าและโคนเน่าที่เกิดจากสาเหตุอื่นๆซึ่งไม่ใช่เชื้อเป็นโรคที่ไม่มีการแพร่กระจาย |
�
สาเหตุของโรค |
ลักษณะอาการ |
การแพร่ระบาด |
เกิดจากเชื้อรา ซึ่งโรคนี้จะพบมากในดินปลูกพริก ที่มีสภาพกรดมาก ๆ หรือที่เรียกกันว่าดินเปรี้ยว � |
ต้นพริกที่ถูกโรคนี้ทำลายจะเริ่มแสดงอาการมีใบเหลืองก่อน หลังจากนั้น ใบจะร่วงและเหี่ยวแห้งยืนต้นตายไปในที่สุด แต่ตามปกติแล้วโรคนี้เมื่อเกิดกับพริกในต้นใดต้นนั้นก็จะตายในระยะเวลาอันสั้น และมักพบต้นพริกตายในขณะที่อยู่ในช่วงกำลังเจริญเติบโตเต็มที่หรืออยู่ในระหว่างผลิดอกออกผล |
อย่างไรก็ตามโรคนี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วการแพร่ระบาดจะช้ากว่าโรคอื่น ๆ แต่ก็อาจแพร่กระจายไปได้ทั่วทั้งไร่ เพราะว่าเชื้อรามีความคงทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมไปได้นานจนกว่าจะมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกลับคืนมาอีกครั้ง ซึ่งนับเวลาได้เป็นปี ๆ จึงมีโอกาสแพร่ระบาดไปได้ไกล ๆ โดยอาจติดไปกับก้อนดินที่มีเชื้อโรคนี้หริอติดไปกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตร ตลอดจนติดไปกับคนและสัตว์ที่เข้าไปเหยียบย่ำบนดินที่มีเชื้อโรคนี้ระบาด |
�
สาเหตุของโรค |
ลักษณะอาการ |
การแพร่ระบาด |
เกิดจากเชื้อราพิเทียม Phytophthora parasitica Dastur โดยเชื้อราจะเข้าไปทำลายระบบรากฝอย รากแขนง และตามโคนต้น ทำให้พืชไม่สามารถลำเลียงน้ำและสารอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของพืชได้ |
สังเกตอาการได้จากใบจะมีสีเหลืองซีด โดยเริ่มที่เส้นกลางใบก่อนแล้วลุกลามไปเรื่อยๆ จากโคนใบไปถึงยอด และใบจะม้วนงอ เมื่อโดนแดดจัด ๆ ในตอนกลางวัน หรือใบเหี่ยวคล้ายขาดน้ำ ใบจะร่วง |
อาจติดมากับวัสดุปลูก น้ำที่ใช้เตรียมสารละลายธาตุอาหาร เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบปลูก ตลอดจนการปลิวมากับฝุ่นละออง เมื่อส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อราพิเธียมตกลงสู่สารละลายธาตุอาหารได้แล้ว เชื้อจะงอกเส้นใยเจริญอย่างรวดเร็ว สร้างซูโอสปอร์ (zoospores) ซึ่งเป็นสปอร์ที่เคลื่อนที่ได้ดีในน้ำ (ว่ายน้ำได้) จำนวนมากมายมหาศาล เมื่อเชื้อโรคสัมผัสรากพืชผักได้ ก็จะเจริญเข้าสู่รากพืช ก่อให้เกิดโรครากเน่าได้อย่างรวดเร็วในระยะอันสั้น |
�
���