แห้วหมู มีชื่อวิทยาศาสตร์ Cyperus rotundus Linn. ชื่อภาษาอังกฤษ nut grass หรือ nutsedge นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกต่างๆ ในแต่ละประเทศ และแต่ละท้องถิ่น เช่น อินเดียเรียก mutha, musta, mustuka ญี่ปุ่นเรียก ko-bushi ส่วนประเทศไทยเรียก หญ้าแห้วหมู บางจังหวัด เช่น แม่ฮ่องสอนเรียก หญ้าขนหมู
แห้วหมูจัดเป็นพืชล้มลุก อยู่ในวงศ์กก เป็นวัชพืชอายุมากกว่า 1 ปีหรือหลายฤดู (perennial weed) เติบโต และออกดอก ผลได้หลายครั้ง แห้วหมู มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ แห้วหมูใหญ่และแห้วหมูเล็ก ซึ่งมีลักษณะภายนอกที่แตกต่างกันในเรื่องของความสูงของลำต้น ลักษณะของดอก
ลักษณะของแห้วหมู |
|
![]() |
หัว และราก |
![]() |
ลำต้นแห้วหมู ต้นแห้วหมู หรือ ต้นหญ้าแห้วหมู จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก จัดอยู่ในจำพวกหญ้า มีลำต้นอยู่ใต้ดิน ลักษณะเป็นหัวกลม สั้น มีตาจำนวนมาก มีสีดำ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-6 มิลลิเมตร ลำต้นเป็นดิน มีขนาดเล็กเรียวเป็นเหลี่ยม มีความสูงประมาณ 4-10 นิ้ว มีสีเขียวแก่ เจริญเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดหรือการใช้หัวหรือไหลใต้ดิน เป็นพรรณไม้ที่มักเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ ตามทุ่งนา ข้างทางหรือที่รกร้าง กระจายพันธุ์สูงในเขตร้อน |
![]() |
ใบแห้วหมู |
![]() |
ดอก |
ผล และเมล็ด
�������ผลมีเปลือกแข็งรูปยาวเรียว รูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ปลายแหลม มีหน้าตัดเป็นรูป 3 เหลี่ยมขนาดยาว 1.3-1.5 มิลลิเมตร กว้าง 0.5-0.7 มิลลิเมตร สีน้ำตาล เป็นที่สะสมอาหารประเภทแป้ง และสารสำคัญหลายชนิด เช่น alkaliods, cardiac glycoside, flavonoides, polyphenols, vitamin C, essentail oils ทำให้เกิดกลิ่นฉุนเล็กน้อย
การขยายพันธุ์
�������หญ้าแห้วหมูพบเกิด และขยายพันธุ์ได้ดีตามพื้นที่ต่างๆ ตามธรรมชาติ มีการขยายพันธุ์ด้วยการแตกต้นใหม่จากส่วนหัวที่เกิดจากไหลใต้ดินแพร่กระจายตามความยาวของไหล ส่วนไหลแก่จะตายเมื่อมีอายุมาก นอกจากนั้น ยังสามารถขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดที่หล่นเมื่อแก่
วิธีป้องกันและกำจัด
�� �����1. ใช้วิธีใช้แรงงานคน คือใช้มือในการถอนและใช้อุปกรณ์อื่นช่วยในการขุดรากถอนโคนขึ้นมาให้หมด
������� 2. ใช้สารเคมีช่วยในการกำจัด โดยสารเคมีที่แนะนำให้ใช้ได้แก่ บาสต้า (กลูโฟซิเนต-แอมโมเนียม), ไกลโฟเซต-ไอโซโพรพิลแอมโมเนียม, อัพดาว (ไกลโฟเซต ไอโซโพรพิลแอมโมเนียม), ไดโอ (ไพราโซซัลฟูรอน-เอทิล), กรัมม็อกโซน (พาราควอตไดคลอไรด์), คาราวาน (ไกลโฟเซต ไอโซโพรพิลแอมโมเนียม) หรือ เอซโซนัด95 (2,4-ดี โซเดียม) โดยใช้อัตราส่วนและคำแนะนำต่างๆตามฉลากอย่างเคร่งครัด