LINE it!
 @allkaset





  • เพลี้ยแป้ง(Mealybug)

    เพลี้ยแป้ง (Mealybug) เป็นแมลงปากดูดในอันดับ Hemiptera วงศ์ Pseudococcidae มีลักษณะพิเศษคือลำตัวอ่อนนุ่ม เพลี้ยแป้งสามารถสืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและแบบไม่อาศัยเพศ เพลี้ยแป้งมีการเจริญเติบโตแบบเปลี่ยนแปลงรูปร่างทีละน้อย (gradual metamorphosis) ประกอบด้วยระยะไข่ ตัวอ่อน และตัวเต็มวัย ตัวอ่อนเมื่อฟักออกจากไข่จะเคลื่อนที่ได้ว่องไวและคลานไปยังพืชที่เหมาะสม เรียก crawler มีขนาดเล็ก ยังไม่มีไขแป้งปกคลุมลำตัว ตัวอ่อนจะเจริญเติบโตโดยการลอกคราบจนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัย เพศเมียลอกคราบ 3 ครั้ง รูปร่างลักษณะของตัวอ่อนจะคล้ายตัวเต็มวัย ต่างกันที่ตัวอ่อนเพศเมีย ระยะต้นๆ มีจำนวนปล้องหนวดน้อยกว่าตัวเต็มวัยและอวัยวะบางส่วนยังไม่เจริญเต็มที่ เช่น อวัยวะสืบพันธุ์ ส่วนเพศผู้ลอกคราบ 4 ครั้ง ตัวอ่อนวัยที่ 1 และ2 จะเหมือนกับตัวอ่อนเพศเมีย ในช่วงท้ายของตัวอ่อนเพศผู้วัยที่ 2 จะเริ่มสร้างเส้นใยปกคลุมลำตัวแล้วลอกคราบ เข้าสู่ระยะก่อนเข้าดักแด้ (cocoon) และอาศัยอยู่ภายในรังไหมนั่น ตัวอ่อนเพศผู้วัยนี้มีรูปร่างแตกต่างจากเพศเมีย โดยที่เพศผู้มีขนาดเล็กกว่า ลำตัวผอมยาว เริ่มปรากฏปุ่มปีกให้เห็นลอกคราบเป็นดักแด้ (pupa) ซึ่งมีการพัฒนาปีกและหนวด จากนั้นลอกคราบอีกครั้งเป็นตัวเต็มวัยเพศผู้ที่มีลำตัวผอมยาว หนวดยาว ปีก 1 คู่ ตัวเต็มวัยเพศผู้ไม่กินอาหาร

    เพลี้ยแป้งเพศเมีย

    ระยะไข่ (Egg stage) วางไข่เป็นกลุ่มมีเส้นใยสีขาวปกคลุมบาง ๆ ไข่มีสีเหลืองอำพันรูปวงรีระยะตัวอ่อน (Nymphal stage) ตัวอ่อนวัยแรกจะมีลำตัวสีเหลือง ลำตัวยาวรี ตาสีแดง สังเกตเห็นหนวดได้ตั้งแต่ระยะนี้ เมื่อเข้าสู่วัยที่ 2 ตัวอ่อนจะมีลำตัวปกคลุมด้วยผงแป้งสีขาวและเพิ่มมากขึ้นเมื่อเข้าสู่ตัวอ่อนวัยที่ 3
    ระยะตัวเต็มวัย (Adult stage) ลำตัวป้อม ยาวรี มีผงแป้งปกคลุมทั่วร่างกาย เพศเมีย 1 ตัวสามารถวางไข่ได้ประมาณ 300-600 ฟอง

    เพลี้ยแป้งเพศผู้

    วงจรชีวิตของเพลี้ยแป้งเพศผู้ประกอบด้วยระยะตัวอ่อน 2 วัยที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายที่พบในวงจรชีวิตของเพศเมีย แต่จะมีระยะก่อนเข้าดักแด้ เมื่อเข้าสู่ระยะดักแด้จะสังเกตเห็นใยไหมสีขาวปกคลุมลำตัว ตัวเต็มวัยจะมีลักษณะรูปร่างแตกต่างจากตัวอ่อนและดักแด้อย่างสิ้นเชิง โดยจะมีลำตัวสีเหลืองอ่อน มีปีกยาวคลุมลำตัวและสังเกตเห็นหนวดชัดเจน สามารถแยกเพศของเพลี้ยแป้งได้จากตัวอ่อนวัย 4 หรือระยะดักแด้และตัวเต็มวัย (Figure 2, 3) วงจรชีวิตเพลี้ยแป้งเพศผู้จะสั้นกว่าเพศเมีย


    เพลี้ยแป้งที่ระบาดในมันสำปะหลังมี4ชนิด

    1.เพลี้ยแป้งสีชมพู ( Phenacoccus manihoti Matile-Ferrero )
    เพลี้ยแป้งสีชมพูเพศเมียสามารถสืบพันธุ์ได้โดยไม่อาศัยเพศและตัวอ่อนที่ฟักออกมาจากไข่จะเป็นเพศเมียเท่านั้น ซึ่งเรียกว่า Thelyotoky ไข่ระยะเริ่มแรกมี สีเหลืองอ่อน ซึ่งคล้ายกับไข่เพลี้ยแป้งสีเขียว แต่เมื่อใกล้ฟักไข่จะเปลี่ยนเป็นสีชมพูอ่อน ตัวอ่อนสีชมพูอ่อน เมื่อใกล้ระยะเปลี่ยนวัยสีลำตัวจะเข้มขึ้น การเปลี่ยนแปลงวัยสังเกตได้จากการทิ้งคราบขาวๆไว้ปลายลำตัว ตัวเต็มวัยมีการสร้างผงแป้งสีขาวปกคลุมลำตัว และเส้นขนปลายลำตัวสั้นหรือมองไม่เห็น ตัวเต็มวัยเพศเมียมีหนวดจำนวน9 ปล้อง ขายาวเรียว cerarius จำนวน 18 คู่ จำนวน 2 อันเท่านั้น ด้านบนของส่วนท้องไม่ปรากฏลักษณะที่คล้าย cerarius เรียงเป็นแถวพาดตามยาวของลำตัว
    2. เพลี้ยแป้งสีเขียว (Phenacoccus madeirensis Green)
    เพลี้ยแป้งสีเขียวเพศเมียมีผนังลำตัวสีเขียวอมเหลืองปกคลุมด้วยไขแป้งสีขาวด้านข้างรอบลำตัวมีเส้นแป้งสั้นๆ เส้นแป้งด้านท้ายลำตัวมีความยาวใกล้เคียงกับเพลี้ยแป้งสีชมพูแต่มีขนาดยาวมากกว่า ระยะไข่เริ่มแรกมีสีเหลืองอ่อน แต่เมื่อใกล้ฟักสีของไข่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองซึ่งสีของไข่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากแต่เปลี่ยนแปลงเพียงความเข้มเท่านั้น ตัวอ่อนสีเขียว เมื่อใกล้ระยะเปลี่ยนวัยสีลำตัวจะเข้มขึ้น การเปลี่ยนวัยสังเกตได้จากการทิ้งคราบขาวๆไว้ปลายลำตัว ตัวเต็มวัยมีการสร้างผงแป้งสีขาวปกคลุมลำตัว ตัวเต็มวัยเพศเมียมีหนวดจำนวน 9 ปล้อง cerarius จำนวน 18 คู่ แต่ละคู่มี cerarian seta จำนวน 3 หรือมากกว่า ด้านบนของส่วนท้องมีรูรูปวงกลมเรียงตามขวางของลำตัวและมีลักษณะที่คล้าย cerarius เรียงเป็นแนวตาม ความยาวของลำตัวนอกจากนี้มีรูรูปห้าเหลี่ยมบนผนังลำตัวด้านล่าง
    3. เพลี้ยแป้งแจ็คเบียสเลย์(Pseudococcus jackbeardsleyi Bimpel&Miller)
    เพลี้ยแป้งแจ๊คเบียสเลย์เพศเมีย ผนังลำตัวสีเทาอมชมพู ปกคลุมด้วยไขแป้งสีขาว ด้านข้างลำตัวมีเส้นแป้งบางๆ ค่อนข้างยาว เส้นแป้งด้านท้ายลำตัวยาวกว่าเส้นแป้งด้านข้าง ไข่ระยะเริ่มแรกมีสีส้มอมแดงและเมื่อใกล้ฟักเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง ระยะตัวอ่อนเริ่มแรกลำตัวเป็นสีแดงอ่อน และเมื่อเริ่มเปลี่ยนวัยสีของลำตัวจะสีเทาเข้มขึ้น การเปลี่ยนวัยสังเกตได้จากการทิ้งคราบขาวๆไว้ปลายล าตัวตัวเต็มวัยมีการสร้างผงแป้งสีขาวปกคลุม และเส้นขนด้านข้างลำตัวยาวและปลายท้องยาวกว่าเพลี้ยแป้งสีชมพูและเพลี้ยแป้งสีเขียว ตัวเต็มวัยเพศเมียมีหนวดจำนวน 8 ปล้อง ขาค่อนข้างยาวเรียว มีรูโปร่งใสเฉพาะบริเวณต้นขา (femur) และหน้าแข้ง (tibia) ของขาคู่หลัง cerarius มี จ านวน 17 คู่ คู่ที่ส่วนหัวมีcerariun seta 3 เส้น
    4.เพลี้ยแป้งลาย (Ferrisia virgata Cockerell)
    ตัวอ่อนมีสีเหลืองอ่อน กลมรี มองไม่เห็นส่วนหางคล้ายกับตัวอ่อนวัย 1 ของเพลี้ยแป้งสีเขียวไม่มีแป้งเกาะ จะมีแป้งเกาะหลังลอกคราบแล้ว 2-3 วัน และเห็นส่วนหาง ตัวเต็มวัยมีลักษณะตัวป้อมกลมรี ส่วนหลังและด้านข้างมีแป้งสีขาวเกาะตัวเต็มวัยเพศเมียผนังลำตัวสีเทาดำปกคลุมด้วยไขแป้งบางๆ สีขาว และมีแถบสีดำ 1 คู่ พาดตามยาวเกือบกึ่งกลางลำตัวด้านท้ายของลำตัวมีเส้นแป้งสีขาว 1คู่มีความยาวครึ่งหนึ่งของลำตัว ผนังลำตัวด้านข้างไม่มีเส้นแป้ง มีหนวดจำนวน 8 ปล้อง ขายาวเรียวมี cerarius 1 คู่อยู่บริเวณส่วนท้ายของลำตัว cerarius มีขนปลายแหลมขนาดใหญ่ 2 เส้น ผนังลำตัวด้านบนมี oral-rim tubular duct ซึ่งบริเวณรอบปากท่อเป็นแผ่นแข็งรูปวงกลมมีเส้นขน จำนวน 2-4 เส้นอยู่รอบ ๆ หรืออยู่ในรัศมีของวงกลมนั้น

    การเข้าทำลายของเพลี้ยแป้ง

    เพลี้ยแป้งในเงาะ
    เพลี้ยแป้งในทุเรียน
    เพลี้ยแป้งในน้อยหน่า
    เพลี้ยแป้งในฝรั่ง
    เพลี้ยแป้งในสับปะรด
    เพลี้ยแป้งในลองกอง
    เพลี้ยแป้งในมังคุด
    เพลี้ยแป้งในมะเขือ
    เพลี้ยแป้งในมะละกอ
    เพลี้ยแป้งในลีลาลาวดี
    เพลี้ยแป้งในมะนาว
    เพลี้ยแป้งในพริกไทย

    เพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง


    เพลี้ยแป้ง เริ่มพบระบาดในมันสำปะหลังเมื่อต้นปี 2551 และระบาดรุนแรงในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังจังหวัดกำแพงเพชร ระยอง ชลบุรี สระแก้ว ปราจีนบุรี และนครราชสีมา ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยแป้งดูดกินน้ำเลี้ยงตามส่วนต่าง ๆ ของมันสำปะหลัง เช่น ใบ ยอด และส่วนตา ทำให้ลำต้นมีช่วงข้อถี่และบิดงอ ยอดแห้งตาย หรือยอดหงิกเป็นพุ่ม (bunchy top) และหากระบาดขณะพืชยังเล็กอยู่อาจมีผลกระทบต่อการสร้างหัวหรือต้นตายได้ เพลี้ยแป้งจะขับถ่ายมูลของเหลวมีลักษณะเป็นน้ำเหนียว ๆ เรียกว่ามูลหวาน ทำให้เกิดราดำ ทำให้พืชสังเคราะห์แสงได้น้อย การเจริญเติบโตไม่เต็มที่ สำหรับชนิดที่พบระบาดเป็นประจำ คือ เพลี้ยแป้งลาย อีกชนิดที่พบใหม่อยู่ระหว่างการจำแนกชนิด


    ท่อนพันธุ์ที่ถูกเพลี้ยแป้งทำลายยอดอ่อนหงิกท่อนพันธุ์ที่ถูกเพลี้ยแป้งทำลายข้อสั้นคดงอ

    ลักษณะการทำลายของเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง


    เพลี้ยแป้งทำความเสียหายต่อมันสำปะหลัง โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงตามส่วนต่างๆ เช่น ใบ ยอด และตา ในส่วนของต้นที่ยังอ่อนอยู่ ยอดที่ถูกทำลายจะงอหงิกเป็นพุ่ม ลำต้นจะบิดเบี้ยวมีช่วงข้อถี่ ทำให้มีผลต่อคุณภาพท่อนพันธุ์ หัวมีขนาดเล็ก เปอร์เซ็นต์แป้งต่ำ หากการระบาดรุนแรงยอดจะแห้งตาย ถ้ามีระบาดในช่วงที่มันสำปะหลังอายุน้อย อาจทำให้ต้นมันสำปะหลังตายหรือไม่สามารถสร้างหัวได้ เพลี้ยแป้งจะระบาดรุนแรงในฤดูแล้งมากกว่าในฤดูฝนโดยเฉพาะฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน แปลงที่มีการระบาดอย่างรุนแรงความเสียหายเกิดขึ้นเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์

    สภาพไร่มันสำปะหลังที่ถูกเพลี้ยแป้งเข้าทำลาย

    รุนแรงทำให้ยอดหงิก

    ยอดที่ถูกเพลี้ยแป้งทำลาย

    ข้อถี่โค้งงอ

    การระบาดในช่วงอายุน้อยอาจทำให้ต้นตายได้

    หัวมีขนาดเล็ก และแป้งต่ำ

    เพลี้ยแป้งขับถ่ายมูลหวานออกมา

    ราดำเจริญเติบโตโดยอาศัยมูลหวาน

    การควบคุมเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลังอย่างถูกต้อง

    สามารถทำได้โดยวิธีเขตกรรม และวิธีกล ได้แก่ การไถพรวนดินหลายๆ ครั้ง และตากดินอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพื่อลดประมาณเพลี้ยแป้งและศัตรูพืชอื่นๆ ที่อยู่ในดิน หลีกเลี่ยงการปลูกมันสำปะหลังที่อาจทำให้ต้นมันสำปะหลังงอกและระยะแรกของการเจริญเติบโตอยู่ในช่วงแล้งหรือฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน เนื่องจากเป็นสภาพแวดล้อมเหมาะกับการเจริญเติบโตของเพลี้ยแป้ง เมื่อตรวจพบเพลี้ยแป้งเริ่มเข้าทำลาย ให้ถอนต้น หรือตัดส่วนที่มีเพลี้ยแป้งนำไปเผาทำลาย และหากจำเป็นต้องปลูกใหม่ให้ใช้ท่อนพันธุ์ที่สะอาดปราศจากเพลี้ยแป้ง รวมทั้งการควบคุมโดยชีววิธี ทั้งแมลงห้ำและแมลงเบียน โดยกำหนดแนวทางการควบคุมตามพื้นที่ ที่พบการระบาด ดังนี้


    พื้นที่ที่ยังไม่พบการระบาด

    1. ใช้ท่อนพันธุ์สะอาดปราศจากโรค และแมลงทำลาย หรือไม่นำท่อนพันธุ์มาจากแหล่งอื่น
    2. เก็บซากพืชออกจากแปลง ไถพรวนหลาย ๆ ครั้ง และตากดินอย่างน้อย 14 วัน
    3. แช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารฆ่าแมลงที่แนะนำก่อนปลูก เพื่อป้องกันเพลี้ยแป้งที่ติดมากับท่อนพันธุ์หรือระบาดมาจากแปลงข้างเคียง เนื่องจากเป็นระยะวิกฤติ จำเป็นต้องตัดวงจรชีวิตของเพลี้ยแป้ง หรือลดจำนวนเพลี้ยแป้งให้เหลือน้อยที่สุด
    4. ตรวจแปลงสม่ำเสมอทุก 2 สัปดาห์ (หากพบการระบาดดูรายละเอียดในข้อ 2)


    พื้นที่ที่มีการระบาดของเพลี้ยแป้ง

    1. หลีกเลี่ยงการปลูกในฤดูแล้ง ควรปลูกช่วงต้นฝน ซึ่งฝนที่ตกต่อเนื่องจะทำให้การระบาดลดลง
    2. ไถพรวนดินหลาย ๆ ครั้ง ตากดินอย่างน้อย 14 วัน
    3. ต้องแช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีที่แนะนำเพื่อกำจัดเพลี้ยแป้ง
    4. ตรวจแปลงสม่ำเสมอทุก 2 สัปดาห์
    5. มันสำปะหลังที่มีอายุ 1 – 4 เดือน หากพบระบาดไม่รุนแรงให้ตัดยอดที่มีเพลี้ยแป้งเกาะอยู่แล้วพ่นสารฆ่าแมลงบริเวณที่พบ หากรุนแรงให้ถอนทิ้งทั้งหมดแล้วนำไปทำลายนอกแปลง
    6. หากพบการระบาดในมันสำปะหลังอายุ 5 – 8 เดือน ให้ตัดยอดหรือถอนต้นที่พบเพลี้ยแป้ง นำไปทำลายนอกแปลงและพ่นสารฆ่าแมลงบริเวณที่พบและบริเวณโดยรอบที่มีการระบาดทันที
    7. หากพบการระบาดในมันสำปะหลังอายุมากกว่า 8 เดือน ควรเร่งเก็บผลผลิต ตัดต้นทิ้งนำไปทำลาย ทำความสะอาดแปลง แล้วปลูกพืชอื่นที่ไม่เป็นพืชอาศัยของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังแทน เช่น ข้าวโพด อ้อย ข้าวฟ่าง หรือทานตะวัน


    การใช้สารฆ่าแมลงป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง
    การใช้สารเคมีฆ่าแมลงมีความจำเป็นเพื่อป้องกันในระยะแรกของการปลูกและลดปริมาณแมลงศัตรูพืชในช่วงที่เพลี้ยแป้งระบาดรุนแรง
    การแช่ท่อนพันธุ์ สารฆ่าแมลงที่แนะนำ คือ

    1. ไทอะมีโทแซม 25% WG อัตรา 4 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
    2. อิมิดาโคลพริด 70%WG อัตรา 4 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
    3. ไดไนทีฟูแรน 10%WP อัตรา 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร

    การใช้สารฆ่าแมลงฉีดพ่นทางใบ สารฆ่าแมลงที่แนะนำ คือ อะเซทามิพริด, อิมิดาโคลพริด, บูโพรเฟซิน, ไดโนทีฟูแรน, ไทอะมีทอกแซม


    เพลี้ยแป้ง( 9 รายการ )

    แอคทารา 25ดับบลิวจี

    ไทอะมีทอกแซม
    รหัสสินค้า A147
    ไม่ระบุ

    429.00 - 499.00 ฿
    ซื้อ 3 ครั้งแรก ส่วนลดค่าส่ง

    อิมิดาโกลด์ 70

    อิมิดาโคลพริด
    รหัสสินค้า A1
    ไม่ระบุ

    615.00 - 619.00 ฿
    ซื้อ 3 ครั้งแรก ส่วนลดค่าส่ง

    อิมิดาโกลด์70

    อิมิดาโคลพริด
    รหัสสินค้า A4636
    ไม่ระบุ

    1,299.00 - 1,369.00 ฿
    ซื้อ 3 ครั้งแรก ส่วนลดค่าส่ง

    อิมิดาโกลด์70

    อิมิดาโคลพริด
    รหัสสินค้า A4638
    ไม่ระบุ

    24,399.00 - 24,999.00 ฿
    ซื้อ 3 ครั้งแรก ส่วนลดค่าส่ง

    สตาร์เกิล ยกลัง

    15 กรัม X 200 ซอง
    รหัสสินค้า A4641
    ไม่ระบุ

    6,499.00 - 6,799.00 ฿
    ซื้อ 3 ครั้งแรก ส่วนลดค่าส่ง

    สตาร์เกิล จี

    ไดโนทีฟูแรน
    รหัสสินค้า A187
    ผลิต 2023-03-01

    29.00 - 35.00 ฿
    ซื้อ 3 ครั้งแรก ส่วนลดค่าส่ง

    ไวต์ออยล์

    ไวต์ออยล์
    รหัสสินค้า A4029
    ผลิต

    1,959.00 - 2,029.00 ฿
    ซื้อ 3 ครั้งแรก ส่วนลดค่าส่ง

    ไวต์ออยล์ 1 ลิตร

    petroleum oil 67% w/v e
    รหัสสินค้า A216
    ผลิต

    189.00 - 205.00 ฿
    ซื้อ 3 ครั้งแรก ส่วนลดค่าส่ง

    สตาร์เกิล

    ไดโนทีฟูแรน
    รหัสสินค้า A99
    ไม่ระบุ

    41.00 - 49.00 ฿
    ซื้อ 3 ครั้งแรก ส่วนลดค่าส่ง