![]() |
ไข่ มีรูปร่างเป็นวงรี (Oval) ค่อนข้างแบน สีเหลืองเป็นมันวาว โปร่งแสงเล็กน้อย กว้าง 0.29![]() ![]() |
![]() |
หนอน มีรูปร่างแบบหนอนผีเสือทั่วไป (Eruciform) มีขาจริง 3 คู่ ขาเทียม 5 คู่ ที่ปล้อง 3,4, 5, 6 และปล้องชุดท้าย หนอนมี 4วัย หนอนวัยที่1มีลำตัวบางใสเป็นมันวาว สีครีมหรือเหลืองอ่อนหัวสีน้ำตาลเกือบดำ ส่วนอกปล้องแรกค่อนข้างแข็ง ส่วนลำตัวจะมีขนสีดำปกคลุมทั่วไป หนอนวัยนี้ส่วนใหญ่จะกัดกินอยู่ใต้ใบที่ไม่แก่นักหรือบริเวณส่วนยอด ระยะหนอนวัยที่2 ใช้เวลา 5-7 วัน เฉลี่ย 5.57 ![]() |
![]() |
ระยะหนอนวัย3 และ4 ใช้เวลา 2- 6 วัน เฉลี่ย 3.16+1.07 วันและ 2-5 วัน เฉลี่ย 3.43+0.97 วัน หนอนที่เจริญเติบโตเต็มที่จะซ่อนตัวตามซอกใบหรือใต้ใบ เคลื่อนไหวช้าลง หดตัวสั้นลง ถักเส้นใยสีขาวใสเป็นรูปกระสวยทุ้มตัวเองและหยุดนิ่ง1-2วันเฉลี่ย1.11![]() |
![]() |
ดักแด้ มีรูปร่างแบบ Obtect เมื่อเริ่มเข้าดักแด้ใหม่ๆจะมีสีเขียวอ่อนค่อนข้างใส แล้วสีค่อยเปลี่ยนเป็นเหลืองอ่อนและสีครีม ในระยะที่ใกล้ออกเป็นตัวเต็มวัยส่วนของระยะต่างๆ เช่น ขาปีกและหนวดจะมีสีน้ำตาลเข้มสลับสีน้ำตาลอ่อน ส่วนของตารวมจะพัฒนาจากสีเขียวใสเป็นสีครีมและดำในทีสุด บริเวณด้านข้างของส่วนท้องจะมีท่อหายใจ (spiracle) ยื่นออกมา 6 คู่ ระยะดักแด้ 1-9 วัน เฉลี่ย 3.88+1.59 วัน รวมระยะเวลาตั้งแต่ไข่จนออกเป็นตัวเต็มวัย 13-31 วัน |
![]() |
ตัวเต็มวัย เป็นผีเสือกลางคืน สีน้ำตาลอ่อนกับสีเทาอ่อนจนกระทั่งสีน้ำตาลเข้ม บนสันหลังของปีกคู่หน้าจะมีรอยแถบสีเหลืองขาวตามความยาวของลำตัว และเมื่อมองด้านข้างของลำตัวจะเห็นเป็นรูปสามเหลี่ยม 3 อัน เรียงต่อกัน (diamond mark) ปกติตัวผู้จะมีสีเข้มและ'ขนาดเล็กกว่าตัวเมีย หนวดแบบเส้นด้าย เมื่อเกาะอยู่นิ่งๆส่วนของหนวดจะชี้ตรงไปข้างหน้า ตัวเต็มวัยจะกินน้ำหวานเป็นอาหาร อายุของตัวเต็มวัยเพศผู้และเพศเมีย จะอยู่ในช่วง 4-21 วัน เฉลี่ย 17.72![]() ![]() |
![]() |
การผสมพันธุของหนอนใยผัก ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในช่วงพลบค่ำหรือใกล้สว่าง โดยตัวเมียจะหาที่เกาะบนใบผักและกระพือปีกขึ้นลงอย่างรวดเร็วเพื่อปล่อยเซโรโมนออกมาเรียกตัวผู้ แล้วจะเกาะนิ่งๆ ตัวผู้ที่ไค้รับกลิ่นของเซโรโมนก็จะบินมาเกาะใกล้ตัวเมีย กระพือปีกขึ้นลงอย่างรวดเร็วและเดินวนรอบๆตัวเมียประมาณ 1- 2 นาที หลังจากนั้นก็จะหันหลังเข้าผสมพันธุกับตัวเมียเลข การผสมพันธุในแต่ละครั้งจะใช้เวลาประมาณ 45-60 นาที และจะมีการถ่ายทอดสเปอร์มเมื่อผสมพันธุไปแล้วประมาณครึ่งชั่วโมง แต่ถ้ามีการแยกกันก่อนตัวเมียจะไม่ไค้รับสเปอร์มเลย |
ลักษณะการทำลาย
หนอนใยผักเมื่อฟักออกมาจากไข่ใหม่ๆ ตัวหนอนจะแทะกินผิวใบด้านล่างเป็นวงกว้างและมักทิ้งผิวใบด้านบนซึ่งมีลักษณะโปร่งแสงเอาไว้หากมีการระบาดรุนแรงหนอนใยผักจะกัดกินใบจนเป็นรูพรุนเหลือแต่ก้านใบ หรือถ้าเกิดกับผักในระยะต้นอ่อน หนอนจะกัดทำลายส่วนยอดจนชะงักการเจริญเติบโต สำหรับผักในระยะที่ออกดอก ติดฝัก ดอกและฝักอาจถูกทำลายหมดไปได้
การแพร่กระจายและช่วงเวลาการระบาด
ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาคที่มีการปลูกผักตระกูลกะหล่ า หนอนใยผักมักจะเริ่มระบาดมากตั้งแต่ฤดูหนาวและจะเพิ่มความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนระบาดมากในช่วงท้ายของฤดูหนาวต่อฤดูแล้ง ซึ่งเป็นระยะที่มีการปลูกผักกันมาก ในฤดูฝนพบระบาดบ้างแต่ไม่รุนแรง
การป้องกันกำจัด
1. กับดักกาวเหนียวสีเหลืองจำนวน 80 กับดักต่อไร่ สามารถลดการใช้สารฆ่าแมลงมากกว่า 50 %
2. การใช้โรงเรือนตาข่ายไนล่อน หรือรู้จักทั่ว ๆ ไปว่าผักกางมุ้ง พบว่า สามารถป้องกันแมลงศัตรูพวกหนอนผีเสื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ (พบด้วงหมัดผัก เพลี้ยอ่อน บ้างเล็กน้อย ) ทั้งนี้โรงเรือนตาข่ายไนล่อนต้องปิดอย่างมิดชิด เพื่อป้องกันแมลงที่อาจเล็ดลอดเข้าไป
3. การควบคุมหนอนใยผักโดยวิธีใช้แตนเบียนไข่ จากการทดลองปล่อยแตนเบียนไข่ในอัตรา 60,000 ตัวต่อไร่ ทุก ๆ 10 วัน พบว่าสามารถควบคุมการระบาดของหนอนใยผักให้อยู่ในระดับต่ำกว่าระดับการทำลาย แต่หากมีการระบาดของแมลงศัตรูชนิดอื่นๆ อยู่ร่วมด้วย เช่น หนอนกระทู้หอม, ด้วงหมัดผัก หนอนเจาะหยอดกะหล่ำ ควรพิจารณาการใช้ร่วมกับวิธีการอื่น ๆ เช่น การใช้เชื้อไวรัส NPV ควบคุมการระบาดของหนอนกระทู้หอม การใช้ไส้เดือน ฝอยควบคุมการระบาดของด้วงหมัดผัก และบางครั้งอาจต้องใช้สารฆ่าแมลงหากมีการระบาดของหนอนเจาะยอดกะหล่ำเป็นต้น ซึ่งจะต้องมีการพัฒนาศึกษาเพื่อหารูปแบบที่เหมาะสมต่อไป
4. หากพบหนอนใยผักระบาดพ่นด้วยบาติไซด์ 16000 เอสซี (บาซิลลัส ทูริงเยนซิส)ใช้ในอัตรา 80-100 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นให้ทั่วใบพืช เมื่อพบการระบาดของหนอนใยผักในผักคะน้า , ไบโอจีน (บาซิลลัส ทูริงเยนซิส)ใช้อัตรา 80 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยอัตราการใช้น้ำ 120 ลิตรต่อไร่ พ่นเมื่อพบการระบาดของหนอนใยผักในคะน้า ควนพ่นตอนเย็น หรือใช้ดูปองท์ พรีวาธอน (คลอแรนทรานิลิโพรล)อัตราการใช้ 30-40 มิลลิลิตร ผสมน้ำ 20 ลิตร อัตราการใช้น้ำ 120 ลิตรต่อไร่ พ่นเมื่อพบการระบาดของหนอนใยผักในคะน้า