1.โรคใบจุดวง ชื่ออื่น : Early blight สาเหตุของโรค : เกิดจากเชื้อรา Alternaria solani
ลักษณะอาการ สังเกตได้จากใบแก่เริ่มจากเป็นจุดเล็ก ๆ สีน้ำตาล แผลค่อนข้างกลมแล้วขยายใหญ่ ออกไป การขยายตัวของจุดจะปรากฏรอยการเจริญของแผลเป็นวงสีน้ำตาลซ้อน ๆ กันออกไป ถ้าเกิดบนกิ่ง ลักษณะแผลรียาวไปตามลำต้น สีน้ำตาลปนดำเป็นวงซ้อน ๆ กัน ผลแก่ที่เป็นโรคแสดงอาการที่ขั้วผลเป็นแผลสีน้ำตาลดำ และมีลักษณะวงแหวนเหมือนบนใบ การแพร่ระบาด เชื้อสาเหตุโรคนี้สามารถติดมากับเมล็ดพันธุ์ได้ โรคนี้จะเกิดมากในสภาพที่ความชื้นและ อุณหภูมิสูง ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะต่อการระบาดของโรคมาก ๆ จะทำให้อาการจุดวงขยายตัวอย่างรวดเร็วจนต่อเนื่องกันเกิดเป็นอาการใบแห้ง การป้องกันกำจัด 1. คลุกเมล็ดด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชที่สามารถกำจัดเชื้อสาเหตุที่ติดมากับ เมล็ดพันธุ์ได้ เช่น แมนโคเซบ ไอโพรไดโอน 2. ถ้าระบาดในแปลงปลูก พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชบางชนิด เช่น ไอโพรไดโอน คลอโรทาโลนิล
|
2. โรคใบจุด ชื่ออื่น : Leaf spot สาเหตุของโรค: เกิดจากเชื้อรา Corynespora cassiicola ลักษณะอาการ อาการของโรคนี้ใกล้เคียงกับโรคใบจุดวงมาก แต่แผลบนใบมักมีขนาดเล็ก การขยาย ตัวของโรคใบจุดเกิดเป็นวงไม่ค่อยชัดเจน และแผลมักมีสีเหลืองล้อมรอบ อาการบนผลเป็นจุดเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วไป แผลสีครีม หรือน้ำตาลอ่อน การแพร่ระบาด โรคนี้พบระบาดมากในภาคเหนือ โดยเฉพาะถ้ามีความชื้นสูง หรือมีฝนตก โรคจะ ระบาดอย่างรวดเร็ว ใบที่เป็นโรคมาก ๆ จะร่วงหลุดไป การป้องกันกำจัด 1. พยายามรักษาความชื้นในแปลงปลูกอย่าให้สูงมากเกินไป 2. เมื่อพบโรค พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น เบนโนมิล คาร์เบนดาซิม
|
3. โรคแห้งดำ ชื่ออื่น :Leaf blight สาเหตุเกิดจาก : เกิดจากเชื้อรา Stemphylium sp. ลักษณะอาการ เริ่มต้นจากจุดเหลี่ยมเล็กๆสีดำบนใบมะเขือเทศเมื่ออาการรุนแรงแผลขยายขนาดใหญ่และมีจำนวนจุดมากขึ้นเนื้อใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแห้งกรอบ และดำในที่สุดแต่ส่วนของลำต้นยังเขียวอยู่ ไม่พบอาการบนลำต้นและผล การแพร่ระบาด เชื้อสาเหตุโรคนี้สามารถติดมากับเมล็ดพันธุ์ได้ ส่วนการระบาดในแปลงจะเกิดได้ รุนแรงและรวดเร็วเมื่อมีความชื้นและอุณหภูมิสูง การป้องกันกำจัด 1. คลุกเมล็ดด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชที่สามารถกำจัดเชื้อสาเหตุที่ติดมากับ เมล็ดพันธุ์ได้ เช่น แมนโคเซบ ไอโพรไดโอน 2. ถ้าระบาดในแปลงปลูก พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชบางชนิด เช่น ไอโพรไดโอน คลอโรทาโลนิล
|
4. โรคใบไหม้ ชื่ออื่น :Late blight สาเหตุของโรค : เกิดจากเชื้อรา Phytophthora infestans
ลักษณะอาการ จะพบปรากฏอยู่บนใบส่วนล่าง ๆ ของต้นก่อน โดยเกิดเป็นจุดฉ่ำน้ำสีเขียวเข้มเหมือน ใบถูกน้ำร้อนลวก รอยช้ำนี้จะขยายขนาดออกไปอย่างรวดเร็วทางด้านใต้ใบ โดยเฉพาะขอบ ๆ แผล จะสังเกตเห็นเส้นใยสีขาวอยู่รอบ ๆ รอยช้ำนั้น เมื่อเชื้อเจริญมากขึ้นใบจะแห้ง อาการที่กิ่งและลำต้นเป็นแผลสีดำ อาการบนผลมีรอยช้ำเหมือนถูกน้ำร้อนลวก การแพร่ระบาด โรคนี้พบระบาดมากทางภาคเหนือของประเทศไทยในฤดูหนาว เพราะสภาพแวดล้อม เหมาะต่อการเกิดโรค โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ย 18-28 องศาเซลเซียส และมีความชื้นสัมพัทธ์สูงกว่า 90 % ในเขตที่อุณหภูมิต่ำและความชื้นต่ำโรคจะไม่ระบาดนอกจากมีฝนโปรยลงมาโรคจะระบาดอย่างรุนแรงและรวดเร็วภายหลังจากที่มีฝน ส่วนของพืชที่ถูกเชื้อเข้าทำลายจะตายภายใน 1 สัปดาห์ การป้องกันกำจัด 1. ถ้าปลูกมะเขือเทศแบบยกค้าง ควรตัดแต่งใบล่างให้โปร่ง 2. เมื่อเริ่มพบโรค ควรใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น คลอโรทาโลนิล เมตาแลกซิล + แมนโคเซบ พ่นให้ทั่วทั้งต้น
|
5. โรครากำมะหยี่ ชื่ออื่น :Leaf mold สาเหตของโรค: เกิดจากเชื้อรา Cladosporium fulvum
ลักษณะอาการ ผิวด้านบนของใบแก่เป็นจุดสีขาว ซึ่งขยายออกอย่างรวดเร็วและเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ใต้ใบบริเวณที่เห็นเป็นสีเหลืองมีขุยสีกำมะหยี่ เมื่อโรคระบาดรุนแรงมากขึ้นใบจะแห้ง การแพร่ระบาด โรคนี้จะพบมากในมะเขือเทศที่ปลูกในฤดูฝน หรือมีฝนตกระหว่างฤดูปลูกปกติ เชื้อรา จะสร้างสปอร์จำนวนมากทางด้านใต้ใบ สปอร์นี้สามารถทนต่อสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสม และมีชีวิตอยู่ได้นานหลายเดือน เชื้อราเข้าทำลายใบแก่ที่อยู่ทางตอนล่าง ๆ ของต้น และอยู่ทางด้านใต้ใบ การป้องกันกำจัด 1. ตัดแต่งกิ่งมะเขือเทศเพื่อให้การหมุนเวียนของอากาศในแปลงดีขึ้น 2. เมื่อเริ่มพบโรค ควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชบางชนิด เช่น แมนโคเซบ เบนโนมิล คาร์เบนดาซิม
|
6. โรคราเขม่า ชื่ออื่น : Grey leaf mold สาเหตุของโรค: เกิดจาก เชื้อรา Cercospora fuligena.
ลักษณะอาการ คล้ายกับอาการของโรครากำมะหยี่มาก โดยอาการมักเริ่มที่ใบแก่ตอนล่างของ ลำต้นก่อน แล้วจึงลามขึ้นไปยังใบที่อยู่ตอนบน ใบที่เป็นโรค แสดงอาการจุดสีเหลืองแล้วขยายใหญ่ออก ด้านใต้ใบตรงจุดสีเหลืองมีเชื้อราขึ้นอยู่ เส้นใยของเชื้อราที่เกิดขึ้นเป็นขุยสีเทาเข้มจนถึงดำ ซึ่งเป็นอาการที่แตกต่างจากโรครากำมะหยี่ อาการบนกิ่งเป็นขุยสีเทาดำ ใบที่เป็นโรคจะแห้งตาย การแพร่ระบาด เป็นโรคที่พบทั่วไป แต่มักจะพบระบาดและทำความเสียหายในภาคตะวันออก เฉียงเหนือมากกว่าแหล่งอื่น การป้องกันกำจัด 1. ตัดแต่งใบล่าง ๆ ของมะเขือเทศออกบ้าง เพื่อให้มีการระบายอากาศดีขึ้น 2. เมื่อเริ่มพบโรคในแปลง พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชบางชนิด เช่น แมนโคเซบ เบนโนมิล คาร์เบนดาซิม
|
7. โรคราแป้ง ชื่ออื่น :Powdery mildew สาเหตุของโรค: เกิดจากเชื้อรา Oidiopsis sp.
ลักษณะอาการ อาการที่มองเห็นด้านบนใบจะปรากฏเป็นจุดสีเหลือง จุดเหลืองนี้จะขยายออกและจำนวนจุดบนใบจะมีมากขึ้น เมื่อโรคระบาดรุนแรงขึ้น จนบางครั้งมองเห็นเป็นปื้นสีเหลืองด้านบนใบ ตรงกลางปื้นเหลืองนี้อาจจะมีสีน้ำตาล ต่อมาใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทางด้านใต้ใบ ตรงบริเวณที่แสดงอาการปื้นเหลือง จะมีผงละเอียดคล้ายผงแป้งเกาะอยู่บาง ๆ มองเห็นได้ไม่ชัดเจนนัก เมื่ออาการรุนแรงมากขึ้นใบจะเหลือง จากส่วนล่างของต้นไปยังส่วนบนและใบที่เหลืองนี้จะร่วงหลุดไป ในสภาพอากาศเย็นบางครั้งจะพบผงสีขาวเกิดขึ้นบนใบได้ และลุกลามไปเกิดที่กิ่งได้ การแพร่ระบาด โรคนี้มักพบในระยะเก็บผลผลิต ทำให้ต้นโทรมเร็วกว่าปกติ การป้องกันกำจัด 1. ลดความชื้นบริเวณโคนต้นหรือในทรงพุ่ม โดยการตัดแต่งกิ่ง 2. กำจัดวัชพืชที่เป็นพืชอาศัยของเชื้อสาเหตุ เช่น น้ำนมราชสีห์ และหญ้ายาง 3. เมื่อพบโรค ควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชบางชนิด เช่น กำมะถันผง ไดโนแคป
|