สาเหตุ : เกิดจากเชื้อบัคเตรี Erwinia carotovora
อาการ : เริ่มอาการของโรคเป็นจุดชํ้านํ้า ซึ่งจะเน่าอย่างรวดเร็ว ทําให้เนื้อเยื่อเปื่อยและเป็นนํ้าภายในเวลา 2-3 วัน ผักจะเน่ายุบหายไปหมดทั้งต้นหรือหัว หรือฟุบแห้งเป็นสีนํ้าตาลอยู่ที่ผิวดิน อาการเน่าจะเกิดขึ้นที่ส่วนใดก่อนก็ได้แตโดยปกติจะเริ่มที่โคนก้านใบหรือตรงกลางต้น
สาเหตุ : เกิดจากเชื้อบัคเตรี Xanthomonas campestris
อาการ ขอบใบแห้งเข้าไปเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีปลายแหลมชี้ไปที่เส้นกลางใบ เนื้อเยื่อที่แห้ง มีเส้นใบสีดําเห็นชัดเจน ทําให้ใบเหลืองและแห้ง อาการใบแห้งจะลามลงไปถึงเส้นกลางใบ และลุกลามลงไปถึงก้านใบและใบอื่นๆ ทั่วกันด้วย เกิดอาการใบเหี่ยวและแห้งตายไป ผักจะชะงักการเจริญเติบโตต้นอาจถึงแก่ความตายด้วย
การป้องกันกําจัด
- โรคนี้เข้าใจว่าติดมากับเมล็ดพันธุ์ได้ ซึ่งบางครั้งก็มีโรคเกิดมากกว่าปกติ การป้องกันมีอยู่วิธีเดียวคือ ปลูกพืชหมุนเวียนสลับ เช่น ปลูกข้าวโพด พริก ฯลฯ โดยไม่ปลูกพืชพวกนี้อย่างน้อย 3 ปีเมื่อมีโรคระบาด
3.โรครานํ้าค้างของคะน้า (Downy mildew of chinese kale)
สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Peronospora parasitica
อาการ ใบเป็นจุดละเอียดสีดําอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ จุดละเอียดเหล่านี้มีราสีขาวอมเทาอ่อนคล้ายผงแป้งขึ้นเป็นกลุ่มๆ กระจัดกระจายทั่วไป ใบที่อยู่ตอนล่างๆ จะมีแผลเกิดก่อนแล้วลามระบาดขึ้นไปยังใบที่อยู่สูงกว่า ใบที่มีเชื้อราขึ้นเป็นกลุ่มกระจายเต็มใบจะมีลักษณะเหลืองและร่วง หรือใบแห้ง ในเวลาที่อากาศไม่ชื้น จะไม่พบผงแป้ง และแผลแห้งเป็นสีเทาดํา โรคนี้ระบาดได้ตั้งแต่ระยะที่เป็นต้นกล้า ซึ่งจะทําความเสียหายมากเพราะมีใบเสียมาก ต้นเติบโตช้า ถ้าโรคระบาดในระยะติดฝัก ฝักอ่อนก็มีแผลแบบเดียวกับแผลบนใบ ผักไม่สมบูรณ์
การป้องกันกําจัด
- ให้ฉีดพ่นยาป้องกันกําจัด เช่น ยาไซเนบ มาเนบ ไดโฟลาแทน เบนเลท หรือ เบนโมบิล ดาโนบิล แคปเทน หรือ ยาชนิดอื่นๆ ที่มีสารทองแดงเป็นองค์ประกอบสารประกอบทองแดงไม่ควรใช้ในระยะที่ยังเป็นต้นกล้า เพราะเป็นพิษต่อต้นกล้า
หมายเหตุ
โรคนี้ไม่ทําให้ต้นตาย ผักรับประทานใบ เช่น คะน้า ผักกาด ฯลฯ นํ้าหนักลดเพราะต้องตัดใบเป็นโรคออกเสีย ทําให้ผลผลิตตกตํ่า กะหลํ่าปลีมักเสียหายในระยะก่อนห่อเป็นหัว เมล็ดจากผักที่เป็นโรคไม่ควรเก็บไว้ทําพันธุ์ ผักหลายชนิดในตระกูลนี้พบเป็นโรคเดียวกัน
สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Alternaria sp.
อาการ : ใบมีแผลวงกลมสีนํ้าตาลซ้อนกันหลายชั้น เนื้อเยื่อรอบๆ แผลเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ขนาดของแผลมีทั้งใหญ่และเล็กบนแผลมักจะมีเชื้อราขึ้นบางๆ มองเห็นเป็นผงสีดํา ผักบางชนิดและบางพันธุ์มีแผลที่ก้านใบเป็นจุด หรือแผลรูปวงกลมรีสีนํ้าตาลดํา เนื้อเยื่อบุ๋มลงไปเล็กน้อย ในที่บางแห่งพบแผลวงกลมบนฝักอ่อนด้วย ทําให้ฝักอ่อนแห้งเป็นสีนํ้าตาล ใบแก่ที่อยู่ตอนล่างมักจะเป็นโรคมากกว่า
การป้องกันกําจัด
การฉีดพ่นยาป้องกันกําจัดเชื้อราอยู่เสมอๆ จะช่วยป้องกันกําจัดเชื้อรานี้ และเชื้อราโรคอื่นๆด้วย ยาเกือบทุกชนิดให้ผลดียกเว้น ยาเบนโนมิล หรือ เบนเลท และ กํามะถันที่ไม่ให้ผลแต่อย่างใด
หมายเหตุ
โรคนี้ไม่ทําให้ต้นตาย แต่ทําให้ผลิตผลตกตํ่า เพราะมีใบเหลืองเน่ามาก และเกิดกับผักทุกชนิดในตระกูลนี้
5.โรคโคนก้านใบ และต้นเน่าของผักกาดเขียวปลี(Stem canker of Rhizoctonia rot of chinese mustard)
สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Rhizoctonia solani
อาการ : ลําต้นระดับดินและโคนก้านใบมีเชื้อราสีขาวนวลขึ้นเป็นแผลวงกลมหรือรูปไข่ ซึ่งขยายกว้างออก ไป และเนื้อเยื่อตรงกลางแผลเน่าบุ๋มลึกลงไปคล้ายขนมครก และมีสีนํ้าตาลอ่อน หรือสีนํ้าตาลแก่ เชื้อราจะค่อยๆ ลามเข้าไปภายใน ทําให้กาบใบที่อยู่ข้างในมีแผลเน่าด้วย ใบที่มีแผลใหญ่ที่โคนจะเหี่ยว และหักหลุดไปตรงแผล ต้นอาจตายได้ถ้าเชื้อราทําลายโคนใบและลําต้นหมด มักจะเกิดในแปลงที่มีการระบายนํ้าไม่ดี ในแปลงกล้าผักจะมีโรคนี้ระบาดด้วย ผักจะเน่าเร็วขึ้นเมื่อมีเชื้อบัคเตรีที่ทําให้เกิดอากาารเน่าเละ เข้ามาภายหลัง
การป้องกันกําจัด
1. ทําทางระบายนํ้าให้ดีอย่าให้มีนํ้าขังแฉะ
2. ควรใช้ยาป้องกันกําจัดเชื้อราละลายนํ้ารดที่ผิวดิน และฉีดพ่นยาที่โคนใบ
3. ให้ถอนต้นที่มีแผลออกไปทําลายเสีย
หมายเหตุ
ผักหลายชนิดเป็นโรคนี้ดhวย ไดแกjพวก มักฝรั่ง ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา พริก ฯลฯ โดยมีแผลที่โคนต้น ผักกาดเขียวปลีและผักกาดขาวพบเป็นโรคนี้มากที่สุด