LINE it!
 @allkaset





  • โรคพืชในไม้ผล

    1.โรคตายพรายของกล้วย

    สาเหตุโรค : เชื้อรา F. oxysporum f.sp. cubense
    อาการ
           มักจะเป็นกับกล้วยที่มีอายุ 4-5 เดือนขึ้นไป โดยจะเห็นทางสีเหลืองอ่อนตามก้านใบของใบล่างหรือใบแก่ก่อน ต่อมาปลายใบหรือขอบใบจะเริ่มเหลือง และขยายออกไปอย่างรวดเร็วจนเหลืองทั่วใบ ใบอ่อนจะมีอาการเหลืองไหม้หรือตายนึ่งและบิดเป็นคลื่น ใบกล้วยจะหักพับบริเวณโคนก้านใบ ใบยอดจะเหลืองตั้งตรงเขียวอยู่ในระยะแรก ต่อมาก็ตายไปเช่นกัน กล้วยที่ตกเครือแล้วจะเหี่ยว ผลลีบเล็กไม่สม่ำเสมอ หรือแก่ก่อนกำหนด เนื้อฟ่ามจืด บางครั้งพบใบกล้วยหักพับที่โคนใบโดยไม่แสดงอาการใบเหลือง หรือเหลืองเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ถ้าตัดลำต้นตามขวางจะพบว่าเนื้อในของกาบใบบางส่วนเป็นสีน้ำตาลแดง และอาจมีเส้นใยของเชื้อราให้เห็นบ้าง
    การป้องกันและกำจัด
           ใช้พันธุ์กล้วยซึ่งต้านทานโรคแต่ต้องระวังสายพันธุ์ของเชื้อราซึ่งอาจกลายพันธุ์เป็นพันธุ์ที่รุนแรง ควรเผาทำลายต้นที่เป็นโรค ปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้สูงขึ้น การเตรียมดินที่ดีและการอบฆ่าเชื้อราในดินก่อนปลูกจะช่วยลดความรุนแรงของโรค การใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักจะช่วยเพิ่มเชื้อจุลินทรีย์ในดินและป้องกันโรค

    2.โรคราแป้งเงาะ (Powdery mildew Disease)

    สาเหตุ: เชื้อรา Oidium nepheli Kunz.
    อาการ
           ระยะช่อดอกเงาะก่อนบานจะมีราขาวจับคลุมดอก เชื้อราแป้งเจริญปกคลุมกลีบดอกและรังไข่ทําให้ชะงักการเจริญเติบโต ดอกแห้งฝ่อ ผลอ่อนที่มีเชื้อราสีขาวเจริญปกคลุมจะแห้งดํา เชื้อราแป้งอาจพักตัวหรือแสดงอาการตลอดระยะพัฒนาขนาดต่างๆ ของผลเงาะ ขนเงาะมีราขาวปกคลุมที่ผลอ่อนเพียงบางส่วนหรือทั่วผล ต่อมาขนเงาะจะแห้งดําและคอดขาดเหลือโคนขนเงาะสั้น ชาวสวนเรียกว่า "เงาะนิโกร" ผลเงาะระยะผลโตที่มีราแป้งคลุมจะเปลี่ยนสีเหลืองและตกกระดําที่ผิว ในสวนที่มีโรครุนแรง ผลเงาะที่เก็บเกี่ยวจะมีสีเหลือง ขนเกรียนสั้น เงาะพันธุ์โรงเรียนมีความรุนแรงของโรคน้อยแต่เมื่อเป็นโรคจะชะงักการเจริญ และผลเงาะมีผลสีดํา เชื้อราแป้งในจังหวัดภาคตะวันออกของประเทศไทยพบที่ระยะช่อดอกและผล และทางภาคใต้ของไทยยังพบกับใบที่อยู่ในพุ่มหรือยอดที่เจริญจากบริเวณกิ่งล่างๆ ใบอ่อนจะมีราขาวปกคลุม
    การป้องกันกําจัด
           - ฉีดพ่นสารป้องกันกําจัดราแป้งระยะแทงช่อดอกและติดผลประมาณ 3-4 ครั้ง โดยใช้สารชนิดดูดซึมเช่น ไตรอะไดมีฟอน(triadimefon) จะให้ผลดีกว่าการใช้กํามะถันผง ผลเงาะที่ฉีดพ่นเป็นระยะๆ ด้วยสารดูดซึมชนิดดังกล่าวจะควบคุมราแป้งที่ผิว ทําให้ผลเงาะพันธุ์สีชมพูมีผิวสะอาดเมื่อสุกมีสีแดงสม่ำาเสมอ ผลเงาะที่ฉีดพ่นด้วยกํามะถันอัตราสูงในสภาพที่มีอากาศร้อนอาจทําให้ผิวผลไหม้ผิวฃองผลเงาะจะสุกมีสีเหลืองหรือมีสีแดงไม่สม่ำาเสมอ

    3.โรคราสีชมพูในทุเรียน (Pink disease)

    สาเหตุ : เชื้อรา Corticium salmonicolor Berk & Br.
    อาการ
           เชื้อราสาเหตุของโรคเป็นราที่อาศัยและทำลายบนส่วนเปลือกของกิ่งหรือลำต้นส้ม ทำให้กิ่งหรือลำต้นแห้งตายเป็นสีน้ำตาล กิ่งหรือลำต้นที่เริ่มเป็นโรคจะมีใบเหลือง เหี่ยว และร่วงง่าย คล้ายกับอาการซึ่งเกิดเนื่องจากโรคยางไหลหรือเกิดจากการเจาะทำลายกิ่งของแมลง แต่ถ้าดูที่กิ่งหรือลำต้นนั้นแล้วจะไม่พบอาการยางไหลหรือมูลของแมลง จะพบเชื้อราสีชมพูเกิดและเจริญอยู่บนเปลือกตรงส่วนที่เป็นแผลแห้งคล้ายกัยรอยป้ายด้วยปูนแดงหรือปูนกินหมาก เมื่อเฉือนเปลือกดูอาจพบอาการเปลือกช้ำเป็นสีน้ำตาลดำ ส่วนด้านในของเปลือกมีอาการเป็นจุดฉ่ำน้ำจุดเล็กๆ หรือลุกลามเป็นแผลใหญ่ บางครั้งเชื้อราอาจลุกลามจากกิ่งที่เป็นโรคไปสู่กิ่งอื่นๆ หรือลำต้น ทำให้เกิดอาการแห้งตายพร้อมๆกันหลายๆกิ่งได้
    การป้องกันและกำจัด
            - ดูแลปฏิบัติต่อต้นส้มและสภาพแปลงปลูกให้เหมาะสมดูกต้องในเรื่องการตัดแต่งทรงพุ่ม โดยตัดแต่งกิ่งทรงพุ่มให้โปร่ง แสงแดดส่องได้ทั่วถึงไม่แน่นทึบ บำรุงรักษาต้นส้มให้สมบูรณ์แข็งแรงโดยการใช้ปุ๋ยและสารเคมีที่เหมาะสม
           - ตัดแต่งกิ่งหรือส่วนที่เป็นโรคเผาทำลายเพื่อลดปริมาณของเชื้อสาเหตุ
           - ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น คูปราวิท อัตรา 40 กรัม หรือ ซานต้าเอ อัตรา 20 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร

    4.โรคก้นผลเน่า, ผลจุดของฝรั่ง (Stylar end rot, Fruit spot)

    สาเหตุ: เชื้อรา Phomopsis sp. และ Lasiodiplodia theobromae (Botryodiplodia thebromae)
    อาการ
           ผลฝรั่งที่โตและเริ่มแก่แสดงอาการก้นผลเป็นจุดเน่าสีน้ำตาลสีซีดจาง นิ่มและมีสีซีดขาวเมื่อผ่าดูเนื้อในเน่าดำ จุดเน่าจะขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้เนื้อเยื่อภายในเน่านิ่มลุกลามสู่แกนกลางของผล มีสาเหตุจาก Phomopsis sp. ส่วน Lasiodiplodia sp. ทำให้ก้นผลเน่ามีสีเข้มเนื่องจากเชื้อราสร้างพิคนิเดียม (pycnidium) จำนวนมากที่ผิวที่เป็นโรค นอกจากที่บริเวณก้นแผล เชื้อรายังทำให้เกิดจุดบุ๋มสน้ำตาลเตข้มบนผล และจุดขยายโตได้อย่างรวดเร็ว และมักเกิดด้านในพุ่มหรือด้านในของช่อผล ผลฝรั่งที่ห่อผลในถุงกระดาษ หรือพลาสติกจะเน่ารวดเร็วเป็นโรคโดย Lasiodiplodia sp. มีเส้นใยสีเทาดำคลุมผลทำให้ผลแห้งเป็นมัมมี่
    การป้องกันและกำจัด
           - ตัดแต่งกิ่งให้โปร่งและฉีดพ่นป้องกันกำจัดด้วยแมนโคเซป หรือคาร์เบนดาซิม และหลีกเลี่ยงการให้น้ำกับลำต้นซึ่งจะช่วยในการแพร่ระบาดของเชื้อโรค

    5.โรคใบด่างจุดวงแหวนของมะละกอ 

    สาเหตุของโรค : เกิดจากเชื้อไวรัส Papaya ringspot virus (PRV)
    อาการ
           เชื้อเข้าทำลายได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของมะละกอ ในระยะต้นกล้าเชื้อเข้าทำลายจะทำให้ต้นแคระแกร็น ใบด่างเหลือง บิดเบี้ยวเสียรูป ใบจะหงิกงอ เรียวเล็กเหมือนหางหนู ถ้าเป็นรุนแรงใบ จะเหลือแค่เส้นใบดูเหมือนเส้นด้าย และต้นกล้าอาจตายได้หรือไม่เจริญเติบโต ในต้นที่โตแล้ว ใบมีอาการด่าง บิดเบี้ยว หงิกงอ ยอดและใบมีสีเหลืองกว่าต้นที่ไม่เป็นโรค และจะสังเกตเห็นลักษณะจุดหรือทางยาวสีเขียวเข้ม ดูช้ำตามก้านใบ ลำต้น การติดผลจะไม่ดีหรือไม่ติดเลย ผลมะละกอ อาจบิดเบี้ยว มีจุดลักษณะเป็นวงแหวน ทั่วทั้งผล เนื้อบริเวณที่เป็นจุดวงแหวนมักจะเป็นไตแข็ง มีรสขม ถ้าเป็น รุนแรงแผลเหล่านี้จะมีลักษณะคล้ายสะเก็ด หรือหูดนูนขึ้นมา บนผิวของผลจะขรุขระ ต้นที่เป็นโรคในระยะออกดอก จะทำให้ติดผลไม่ดี และผลที่ได้จะมีจุดวงแหวนเห็นได้ชัด นอกจากนี้ดอกในรุ่นต่อ ๆ ไปก็จะร่วง ไม่ติดผล
    การป้องกันและกำจัด
    เป็นการยากมากที่จะหาวิธีป้องกันหรือกำจัดโรคนี้โดยตรง
           1.สิ่งที่ต้องปฏิบัติคือ ต้องทำลายต้นที่ติดเชื้อโรคนี้ ที่แสดงอาการอย่างแน่ชัดก่อน โดยการเผาหรือฝังในดินให้ลึก
           2.ปลูกมะละกอพันธุ์ที่ทนทานต่อโรคนี้ เช่น ปากช่อง 1, แขกดำ,ท่าพระ
           3.บริเวณปลูกมะละกอควรกำจัดวัชพืชให้หมด เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของพวกเพลี้ยอ่อน และควรปลูกห่างจากพืชตระกูลแตง
           4.การปลูกพืชอาหารเพลี้ยอ่อน เช่น ข้าวโพด ถั่ว กล้วย รอบแปลงปลูกมะละกอ โดยเฉพาะด้านเหนือลม เพื่อเป็นกับดักให้เพลี้ยอ่อนเข้าดูดกิน และสูญเสียการถ่ายเชื้อไวรัสเข้าสู่มะละกอ
           5.การสร้างภูมิคุ้มกันโดยการปลูกวัคซีนให้กับมะละกอ

    6.โรคผลแตกยางไหลของมังคุด (Fruit cracking and gummosis)

    สาเหตุ : จากปัจจัยสภาพแบดล้อมที่ไม่เหมาะสม
    อาการ 
           ผลมังคุดระยะพัฒนาขนาดต่างๆ กันแสดงอาการยางไหล มีรอยร้าวแตก มียางสีเหลืองเยิ้ม พบผลแตกในระยะผลที่โตแล้ว 1-2 เดือนก่อนเก็บเกี่ยว
    การป้องกันและกำจัด
           - จัดการระบบน้ำที่ดีภายในสวนไม่ให้ระดับน้ำในดินสูง ควรป้องกันแมลง เพลี้ยไฟ แมลงวันทอง และชนิดอื่นๆ ที่ทำลายผิวผลทำให้อ่อนแอต่อการแตกของผลมากขึ้น

    7.โรคผลเน่าของลองกอง (Fruit rot)

    สาเหตุ: เกิดจากเชื้อรา Cylindrocladium sp. 
    ลักษณะอาการ
           ผิวเปลือกจะเปลี่ยนสีเป็นน้ำตาลอ่อน และจะค่อย ๆ เข้มขึ้น ผลจะเริ่มนิ่มและยุบตัวลง การเน่าจะลุกลามไปทั่วทั้งผล โดยจะเห็นบนผิวที่เป็นสีน้ำตาลเข้มนั้น จะเป็นผงสีขาว ๆ ของเชื้อรา กระจัดกระจาย ผลของลองกองที่เก็บไว้นานในสภาพที่มีอากาศร้อนและชื้นแสดงการเน่าเสียบริเวณขั้วผล ทำให้ผลหลุดร่วงออกจากช่อ เนื้อเยื่อเน่าที่ขั้วผลมีสีดำเมื่อทิ้งไว้นานจะแสดงการเน่าลุกลามผลฝ่อแฟบ มีเส้นใยสีเทาแกมดำของเชื้อราเจริญคลุมผล
    การป้องกันและกำจัด
           - โดยการตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง และฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น เบนโนมิล แมนโคเซบ หรือ ไธอะเบนดาโซล เป็นต้น จะสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อราได้ดี

    8.โรคเหี่ยวสับปะรด(โรคเอ๋อ)

    สาเหตุ : เกิดจากเชื้อไวรัส Pineapple mealybug wiltassociated virus กลุ่มคลอสเตอโรไวรัส (Closterovirus)
    อาการ
           ต้นสับปะรดที่เป็นโรคเหี่ยวจะมีอาการเริ่มที่ใบ คือใบจะอ่อนนิ่มมีสีเขียวอ่อนหรือเหลืองอ่อนปลายใบแห้งเป็นสีน้ำตาลจนถึงสีแดงลามสู?โคนใบ ใบลู่ลง แผ่แบนไมตั้งขึ้นเหมือนใบปกติต่อมาต้นจะเหี่ยวและแห้ง รากสั้นกุด ถอนต้นได้ง่าย อาการจะแสดงเด่นชัดหลังบังคับดอก ทําให้ผลสับปะรดไม่พัฒนา มีขนาดเล็ก และเก็บเกี่ยวไม่ได่ 
    การป้องกันและกำจัด
           เนื่องจากปัจจุบันไม่มีสารชนิดใดสามารถควบคุมการระบาดของโรคเหี่ยวสับปะรดได้ เพื่อแก้ปัญหาการระบาดของโรคเหี่ยวสับปะรด เกษตรกรจําเป็นต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดทั้ง 5 ประการ ดังต่อไปนี้
           1. ศึกษาสาเหตุและความสําคัญของโรคเหี่ยว
           2. ห้ามใช้หน่อพันธุ์หรือจุกพันธุ์สับปะรด จากแหล่งที่มีโรคเหี่ยวระบาด 
           3. กําจัดวัชพืชในแปลงและรอบแปลงปลูกสับปะรด
           4. สํารวจแปลงต้นปลูกและแปลงต้นตอสับปะรด ตลอดฤดูปลูก อย่างน้อยเดือนละ 1-2ครั้ง
           5. จัดทําแปลงผลิตหน่อพันธุ์สับปะรดไว้ใช้เอง โดยให้ปฏิบัติตามข้อกําหนด 1-4 อย่างเคร่งครัด ทั้งในแปลงต้นปลูกและแปลงต้นตอ

    9.โรคใบจุดนูนของมะม่วง (Crusry leaf spot)

    สาเหตุ : เชื้อรา Zimmermaniella trispora P.Henn
    อาการ
           ด้านใต้ใบปรากฎตุ่มกลมนูนแข็งสีน้ำตาลเกิดกระจัดการะจายใต้ใบที่แก่ ด้านบนใบจะมีลักษณะเป็นจุดซีดเหลือง จุนนูนมีลักษณะแข็งหลุดจากใบได้ง่ายโดยการแกะหรือถูเบาๆ จุดนูนแข็ง (ascostroma) เป็นที่เกิดของกลุ่มสปอร์ซึ่งเป็นแอสโคสปอร์ ซึ่งเป็นสปอร์ขยายพันธุ์แบบใช้เพศ มี 3 แอสโคสปอร์ ในแต่ละแอสคัส (ascus) จุดนูนแข็งของเชื้อรามีผิวหยาบแตกต่างไปจากจุดนูนแข็งด้านบนใบที่เกิดจากแมลงซึ่งมีขนาดโตผิวเรียบและบางครั้งมีรูเปิด
    การป้องกันกำจัด 
           - รวบรวมใบที่เป็นโรคเผาทำลาย
           - ฉีดพ่นป้องกันด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา