เมล็ดพันธุ์ดอกไม้
การปลูกและการดูแลรักษาไม้หัวในแต่ละชนิดจะมีลักษณะคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกันทั้งหมด ถ้าจะปลูกต้นไม้ชนิดใดควรจะศึกษาการปลูกพืชชนิดนั้นให้เข้าใจและมีความรู้พื้นฐานในเรื่องของต้นไม้ชนิดนั้นๆที่จะปลูก
การเพาะเมล็ด แบ่งเมล็ดพันธุ์ไม้ดอกตามขนาดของเมล็ดออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ดังนี้ 1) ไม้ดอกที่มีเมล็ดพันธุ์ขนาดใหญ่ คือ มีจำนวนเมล็ดเป็นร้อยถึงพันเมล็ดใน 1 กรัม มักเพาะและย้ายกล้าได้ง่าย เนื่องจากภายในเมล็ดมีอาหารสะสมอยู่มาก ต้นกล้าที่งอกขึ้นมาจะมีขนาดใหญ่ ได้แก่ ดาวเรือง บานชื่น ผีเสื้อ รักเร่ ทานตะวัน ดาวกระจาย เป็นต้น
การเพาะเมล็ดจะเพาะในกระบะพลาสติกรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า วัสดุเพาะควรเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายสะดวก ไม่จำเป็นต้องมี ธาตุอาหารมากนัก วัสดุเพาะที่ดี ได้แก่ ขุยมะพร้าวที่ร่อนแล้ว 1 ส่วน กับทรายร่อน 1 ส่วนผสมให้เข้ากัน พรมน้ำพอ หมาด ๆ แล้วเตรียมกระบะเพาะ โดยนำกระดาษหนังสือพิมพ์มาตัดให้พอดีกับก้นกระบะ ตัดกระดาษปิดด้านข้างกระบะ ใส่วัสดุเพาะลงในกระบะประมาณครึ่งกระบะเกลี่ยวัสดุเพาะให้เรียบเสมอกันด้วยไม้บรรทัดหรือไม้เรียบ ๆ ถ้าเกลี่ยผิววัสดุ เพาะไม่เรียบเสมอกันน้ำจะขังตามแอ่งหลุม ทำให้เมล็ดและต้นกล้าเน่าได้ จากนั้นทำร่องปลูกโดยใช้ไม้กดผิวหน้าวัสดุ เพาะให้เป็นร่องลึก 0.5-1 เซนติเมตร เป็นแถวห่างกัน 2.5-3.5 เซนติเมตร ในหนึ่งกระบะเพาะขนาดประมาณ 30 x 37.5 เซนติเมตร จะทำร่องได้ 8-10 ร่อง หยอดเมล็ดลงในร่อง 30-50 เมล็ดต่อร่อง ใช้ไม้บรรทัดเกลี่ยวัสดุเพาะให้กลบเมล็ดเบา ๆ จากนั้นปิดทับด้วยกระดาษ หนังสือพิมพ์ที่ตัดขนาดเท่ากับผิววัสดุเพาะ แล้วใช้ฝักบัวรดน้ำที่มีฝอยละเอียดรดน้ำให้ชุ่ม ในวันแรกรดน้ำ 3-5 ครั้ง เพื่อให้ความชื้นค่อย ๆ ซึมลงวัสดุเพาะ ต่อมาให้รดน้ำวันละ 1-2 ครั้ง เมล็ดจะเริ่มงอกภายใน 3-5 วัน จึงเปิดกระดาษ ออกเพื่อให้ต้นกล้าได้รับแสงเต็มที่ เมื่อกล้าอายุ 3-7 วัน จึงย้ายลงในถุงพลาสติกหรือถาดหลุมที่ใส่ดินผสมต่อมาอีก 2-3 สัปดาห์ จึงย้ายปลูกลงกระถางขนาดใหญ่ขึ้นต่อไป 2) ไม้ดอกที่มีเมล็ดพันธุ์ขนาดเล็ก คือ มีจำนวนเมล็ดเป็นพันถึงหมื่นเมล็ดใน 1 กรัม จะเพาะยากกว่าเมล็ดไม้ดอกที่มี ขนาดใหญ่ไม้ดอกที่มีเมล็ดพันธุ์ขนาดเล็ก ได้แก่ ลิ้นมังกร โบรวาเลีย คาลซิโอลาเลีย คัมพานูล่า อิริจิรอน โลบิเลีย พิทูเนีย ยาสูบดอก แพรเซี่ยงไฮ้ เป็นต้น
การเพาะเมล็ดคล้ายกับการเพาะเมล็ดไม้ดอกขนาดใหญ่ แต่ต่างกัน คือ ต้องทำร่องเพาะเมล็ดตื้น ๆ ถ้าร่องลึกเกินไป เมื่อกลบเมล็ดแล้วต้นกล้าจะไม่สามารถงอกขึ้นมาได้ นอกจากนี้ในการหยอดเมล็ดควรนำเมล็ดมาผสมกับทรายก่อน โรยตามร่องเพื่อให้เมล็ดมีการกระจายตัวได้ดีขึ้น เมื่อเมล็ดงอกเป็นต้นกล้าแล้ว อาจผสมปุ๋ยเกล็ดละลายน้ำให้มีความ เข้มข้นต่ำ ๆ ฉีดพ่นให้กับต้นกล้าบ้าง เพื่อให้ต้นกล้าเจริญเติบโตดีขึ้น อีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้การเพาะเมล็ดไม้ดอกที่มี เมล็ดขนาดเล็ก มีต้นกล้าที่สมบูรณ์แข็งแรงก็คือ วัสดุเพาะควรผสมด้วยใบไม้ผุหมัก หรือปุ๋ยหมักเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งส่วน นอกเหนือจากขุยมะพร้าวและทรายร่อน หรือใช้พีทมอสเป็นวัสดุเพาะก็ได้ เมื่อต้นกล้าอายุ 10-20 วัน จึงย้ายกล้าปลูก ลงถุงหรือถาดหลุมต่อไป 3) ไม้ดอกที่มีเมล็ดพันธุ์ขนาดเล็กมาก ไม้ดอกเหล่านี้จะมีจำนวนเมล็ดมากกว่าหมื่นเมล็ดใน 1 กรัม ได้แก่ บิโกเนีย กล็อกซิเนีย และแอฟริกันไวโอเล็ต
การเพาะเมล็ดควรเพาะในกระถางดินเผาชนิดแบน (กระถางแขวน) วัสดุที่ใช้เพาะจะใช้ทราย ขุยมะพร้าว และใบไม้ปุ๋ย หรือปุ๋ยกทม.ที่ร่อนละเอียด ผสมให้เข้ากันในอัตราส่วน 1:1:1 แล้วนำมาคั่วเพื่อฆ่าเชื้อ พรมน้ำให้ขึ้นในระหว่างที่คัว วัสดุเพาะ จากนั้นนำใยมะพร้าวที่ได้จากการร่อนขุยมะพร้าวมาวางรองที่ก้นกระถาง เพื่อกันวัสดุเพาะไหลออกและช่วย ในเรื่องการระบายน้ำ นำวัสดุเพาะใส่ลงกระถางประมาณครึ่งหนึ่ง เกลี่ยผิวให้เรียบเสมอกัน นำเมล็ดมาผสมกับทราย ละเอียด คลุกให้เข้ากัน แล้วโรยให้กระจายทั่ว ๆ กระถางโดยไม่ต้องทำร่อง ตัดกระดาษหนังสือพิมพ์ให้เป็นรูปวงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับกระถางนำมาวางปิดทับลงบนผิววัสดุ เพาะแล้วรดน้ำด้วยบัวรดน้ำที่มีหัวเป็นฝอยละเอียด ใช้ กระจกใสขนาด 30 x 30 เซนติเมตร ปิดบนปากกระถางอีกชั้นหนึ่ง เพื่อรักษาความชื้น เมื่อโรยเมล็ดเพาะแล้วควรวาง กระถางในที่ร่มรำไร ทำการรดน้ำทุก 1-2 วัน หลังจากเพาะแล้ว 10-15 วัน ให้แง้มกระดาษดู ถ้าเมล็ดเริ่มงอกเป็นต้นกล้าเล็ก ๆ ให้เปิดกระดาษออก ปิดกระดาษไว้ ตามเดิม เมื่อต้นกล้าอายุ 30-45 วัน จึงทำการย้ายปลูกต่อไป วัสดุเพาะเมล็ดที่มีขนาดเล็กมากนี้อาจใช้พีทมอสที่ร่อน ละเอียดแทนก็ได้ |
ภาชนะปลูก กระถางดินเผา เป็นภาชนะปลูกพืชที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง มีรูปทรงต่าง ๆ ให้เลือกกันมากมาย ปัจจุบันไม่นิยมใช้ กระถางดินเผาแล้ว เนื่องจากกระถางดินเผานั้นมีน้ำหนักมาก หนาเทอะทะ ไม่สะดวกในการเก็บและขนย้าย มีรูปทรงที่ ไม่สม่ำเสมอ อย่างไรก็ตามกระถางดินเผาก็ยังเหมาะสำหรับผู้ปลูกเลี้ยงสมัครเล่น เพราะตัวกระถางดินเผานั้นทำจาก ดินปั้น เมื่อนำไปเผาแล้วตัวกระถางจะมีรูพรุน ทำให้มีช่องว่างระบายอากาศ น้ำซึมและระเหยผ่านได้ ทำให้อุณหภูมิ ในดินเย็น ทำให้รากพืชเจริญงอกงามได้ดี ข้อดีของกระถางดินเผา คือ วัสดุปลูกทั้งด้านบนและด้านล่างของกระถางจะมีความชื้นไม่แตกต่างกันมากนักหากวัสดุ ที่ปลูกพืชแฉะมาก น้ำหรือความชื้นที่มากเกินไปก็สามารถระบายออกจากรูก้นกระถาง และซึมออกด้านข้างตามรูพรุน รอบ ๆ กระถางได้ ไม้ดอกที่ปลูกในกระถางดินเผาจะเจริญเติบโต แข็งแรง ดูแลรักษาง่าย แต่ข้อเสียของกระถางดินเผา คือมีน้ำหนักมาก สิ้นเปลืองเนื้อที่ในการเก็บกระถางจำนวนมาก ๆ และขนย้ายไม่สะดวก การปลูกไม้ดอกในกระถางดินเผา ยังมีข้อจำกัดอีกว่า เมื่อต้นไม้ดอกมีขนาดโตเต็มที่แล้ว มักพบปัญหาว่าจำเป็นต้องรดน้ำบ่อยกว่าการใช้กระถางพลาสติก เพราะพืชมีการใช้น้ำมาก ขณะที่น้ำมักจะระเหยออกตามรูพรุนรอบกระถางอีกทางหนึ่ง การปลูกไม้ดอกในกระถางดินเผา จึงต้องรดน้ำบ่อยขึ้น หรือต้องใช้ภาชนะที่ใหญ่ขึ้น
กระถางพลาสติก เป็นภาชนะในการปลูกพืชที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ โดยนำมาใช้ปลูกพืชแทนกระถางดินเผา มีข้อดีที่ว่ามีน้กหนักเบา มีขนาดที่เท่า ๆ กันได้มาตรฐาน สามารถนำมาซ้อนกันได้ จึงไม่เปลืองเนื้อที่ในการเก็บ ราคาถูก มีสีสันให้เลือกใช้ได้หลายสี กระถางพลาสติกแต่เดิมมีปัญหาเรื่องการระบายน้ำระบายอากาศ แต่ในปัจจุบันได้พัฒนาเรื่อง การระบายน้ำระบายอากาศที่ดีขึ้นโดยการออกแบบก้นกระถางให้มีการระบายน้ำได้ดีขึ้น
การปลูกไม้ดอกในกระถางพลาสติก อาจมีปัญหาเรื่องการสะสมความร้อนในวัสดุปลูก เนื่องจากผิวกระถางไม่มีรูพรุน ช่วยในการระบายอากาศและน้ำเช่นเดียวกับกระถางดินเผา การแก้ปัญหานี้ทำได้โดยการผสมวัสดุปลูกให้โปร่ง และเบา ซึ่งจะมีผลทำให้การระบายน้ำการระบายอากาศในกระถางพลาสติกดีขึ้น |
วัสดุปลูก วัสดุปลูกมีความสำคัญต่อการปลูกไม้ดอกกระถาง และไม้ดอกลงในแปลง ช่วยทำให้ไม้ดอกเจริญเติบโตได้ดีเป็นที่ เกาะยึดของราก เป็นแหล่งของอาหารและเก็บความชื้น วัสดุปลูกที่เป็นพื้นฐานโดยทั่วไป คือดินปลูก ดินที่ใช้ปลูกไม้ดอก เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ไม้ดอกสวยงาม ควรมีคุณสมบัติเป็นดินร่วนระบายน้ำ และระบายอากาศได้ดี มีธาตุอาหารเพียงพอ เก็บความชื้นได้ดี มีสภาพความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ประมาณ 6-7 ไม่เป็นแหล่งสะสมโรค แมลง และสารพิษ ปัจจุบันมีการปรับปรุงดินโดยผสมวัสดุอื่นเพิ่มเพื่อให้มีคุณสมบัติตามที่พืชต้องการ วัสดุอื่น ๆ ที่นิยมนำมา ผสมกับดิน ได้แก่ ปุ๋ยคอก คือ ปุ๋ยที่ได้จากมูลของสัตว์ต่าง ๆ เช่น มูลเป็ด หมู วัว ควาย หรือมูลค้างคาว ปุ๋ยคอกจะช่วย ปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น ปุ๋ยคอกที่นำไปใช้ควรเป็นปุ๋ยคอกเก่า วัสดุเหลือใช้ที่เกิดจากการเกษตร ได้แก่ แกลบ ชานอ้อย เปลือกถั่ว ขี้เลื่อย ขุยมะพร้าว ฟางข้าว วัสดุพวกนี้ควรนำ มาหมักให้เก่าก่อนใช้เพราะเมื่อวัสดุพวกนี้ถูกจุลินทรีย์ย่อยสลาย ก็จะดึงธาตุอาหาร โดยเฉพาะธาตุไนโตรเจนจากดินไป ทำให้พืชขาดธาตุอาหารได้ และต้องใส่ปุ๋ยเพิ่มด้วย ถ่านแกลบ นิยมผสมกับดินปลูกที่ใช้เป็นวัสดุปักชำ เพราะช่วยให้ดินโปร่งและระบายน้ำได้ดี ปุ๋ยหมัก คือ ปุ๋ยที่เกิดจากการนำเอาเศษซากพืช ซากสัตว์ มูลสัตว์ หรือใบไม้มากองรวมกัน ให้จุลินทรีย์ย่อยสลาย จนผุพังกลายเป็นปุ๋ยหมัก และให้ธาตุอาหารแก่พืชด้วย ใบไม้ผุ ใช้เป็นวัสดุปลูกได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะใบของพืชวงศ์ถั่ว เช่น ใบก้ามปูผุ ใบนนทรีผุ ใบทองหลางผุ ซึ่ง นิยมใช้เป็นวัสดุปลูกของไม้ดอกหลายชนิด เช่น แอฟริกันไวโอเล็ต กล็อกซิเนีย บีโกเนีย ทราย ควรใช้ทรายหยาบ เพราะช่วยระบายน้ำและอากาศได้ดี แต่ไม่ให้ธาตุอาหารแก่พืช ไม่อุ้มน้ำและค่อนข้างหนัก สำหรับการเลือกชนิดของวัสดุที่ใช้เป็นส่วนผสมของดินนั้น ควรเลือกวัสดุที่หาได้ง่ายในแต่ละท้องถิ่น และสิ่งสำคัญ คือ ต้องดูว่าต้นไม้นั้นชอบดินอย่างไร ดังนั้นส่วนผสมและอัตราส่วนของดินผสมจึงไม่สามารถกำหนดแน่นอนตายตัวได้ โดย ทั่วไปนิยมใช้ดินผสมกับทราย แกลบดิบ ถ่านแกลบ ขุยมะพร้าว และปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตราส่วน 1:1:1:1:1:1 แล้ว คลุกเคล้าให้เข้ากัน จะได้ดินผสมตามต้องการ อาจผสมปุ๋ยอื่นเสริมลงไปบ้าง เช่น ในดินผสม 1 ลูกบาศก์เมตรอาจใส่ปุ๋ย เคมีสูตร 15-15-15 จำนวน 1 กิโลกรัม กับปุ๋ยกระดูกป่น 0.5 กิโลกรัม |
การย้ายกล้า วิธีการย้ายกล้า ก่อนย้ายกล้าควรงดการให้น้ำกับต้นกล้าก่อน 1 วัน เพื่อให้วัสดุเพาะเกาะอยู่ที่รากของต้นกล้า การย้าย ต้นกล้าทั่วไป ควรย้ายขณะที่มีใบเลี้ยงกางเต็มที่ แต่ในบางพืชควรให้ต้นกล้ามีใบจริงก่อน เช่น เยอบีร่า ผีเสื้อ พิทูเนีย เป็นต้น วัสดุที่ใช้ปลูกต้นกล้าอาจเป็นวัสดุเช่นเดียวกับที่ใช้ในการเพาะกล้า โดยผสมปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเก่าเพิ่มขึ้น ซึ่งปุ๋ยทั้งสองต้นกล้าอาจเป็นวัสดุเช่นเดียวกับที่ใช้ในการเพาะกล้า โดยผสมปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเก่าเพิ่มขึ้น ซึ่งปุ๋ยทั้งสอง ต้องแห้งและร่อนให้มีขนาดเดียวกับวัสดุเพาะ ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักนั้นจะใส่ไม่เกิน 20% ของวัสดุเพาะเพื่อเพิ่มธาตุอาหาร หรืออาจใช้ปุ๋ยละลายช้า เช่น ออสโมโคท มัลติโค้ท ใส่ลงในวัสดุย้ายกล้าตามอัตราข้างฉลากแทนการใช้ปุ๋ยหมักหรือ ปุ๋ยคอกเก่าก็ได้ กระถางหรือถุงหรือถาดหลุมที่ใช้ใส่ต้นกล้า ที่ย้ายปลูกไม่ควรใหญ่เกินไป โดยทั่วไปเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ควรเกิน 7.5 เซนติเมตร นำวัสดุปลูกที่เตรียมไว้ใส่กระถางหรือถุงหรือถาดหลุมจนเต็ม ส่วนในขั้นตอนของการย้ายกล้านั้นให้ปฏิบัติ ดังนี้ คือ ใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้ของมือซ้ายจับใบเลี้ยงใบที่หนึ่ง ในขณะเดียวกับที่มือขวาจับเศษไม้หรือดินสอที่เหลาให้ ปลายแหลม แทงลงในวัสดุเพาะที่อยู่บริเวณด้านข้าง ๆ ต้นกล้าแล้วดึงต้นกล้าขึ้นมา จากนั้นทำหลุมปลูกโดยใช้ดินสอ แทงลงที่วัสดุเพราะตรงกึ่งกลางกระถางที่จะทำการย้ายกล้าลงปลูก โดยแทงให้ลึกถึงก้นกระถางแล้วยกดินสอขึ้นนำ ต้นกล้าวางลงในหลุมให้ใบเลี้ยงอยู่ในระดับผิววัสดุปลูกพอดี ถ้ามีรากบางส่วนยังไม่ลงหลุมให้ใช้ดินสอดันรากเหล่านั้น ลงไปและเขี่ยวัสดุปลูกลงกลบหลุม รดน้ำด้วยบัวฝอยละเอียด จนน้ำไหลออกก้นกระถาง เมื่อปลูกต้นกล้าเสร็จแล้วควร พลางแสงด้วยซาแลน 1 วัน เพื่อให้ต้นกล้าฟื้นตัว เมื่อต้นกล้าอายุประมาณ 2-3 สัปดาห์ จะมีใบจริงประมาณ 4-6 ใบ จึงพร้อมที่จะเปลี่ยนย้ายปลูกลงกระถางที่ใหญ่ขึ้น |
การปลูกไม้ดอกโดยใช้หัวหรือหน่อในดิน
ดิน สภาพดินปลูกที่ไม้หัวชอบคือ เป็นดินร่วน โปร่ง ที่สำคัญต้องระบายน้ำดี น้ำไม่ขัง ชอบดินด่างมากกว่าดินกรด คือดินที่มีความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ประมาณ 7.0 หรือสูงกว่านี้ การปลูก ไม้หัวที่มีขนาดใหญ่มีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 2 นิ้วขึ้นไป ควรปลูกให้มีความลึกเป็น 2-3 เท่าของขนาดหัว ถ้าเป็นไม้หัวขนาดเล็กมีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 2 นิ้วลงมา ควรปลูกให้มีความลึก 3-4 เท่าของความกว้างของหัว การที่ฝังหัวค่อนข้างลึกเพื่อให้หัวได้รับความชื้น ให้ลำต้นสามารถพยุงตัวเองได้ อย่างไรก็ตามไม่ควรปลูกลึกจนเกินไป เพราะจะทำให้งอกยาก(แต่ก็มีไม้หัวบางชนิด เช่น ว่านศี่ทิศ ควรปลูกตื้นเสมอระดับหัว) และการปลูกในตอนแรกให้ใช้ดินกลบพอมิดหัว เมื่อต้นเจริญขึ้นมาแล้วจึงค่อยนำดินกลบอีกครั้ง การให้ปุ๋ย ควรให้ปุ๋ยคอกตั้งแต่ก่อนเตรียมพื้นที่ นอกจากนี้ไม้หัวยังต้องการปุ๋ยเคมีที่มีฟอสฟอรัสและโปรแตสเซียมสูงหรือไนโตรเจนต่ำ ทั้งนี้เพราะว่าปกติเมื่อใบสร้างอาหาร จะส่งอาหารกลับมาเก็บยังหัว ถ้าให้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูงจะทำให้การเจริญเติบโตทางใบสูงเกิดการพักตัวเร็ว ทำให้เวลาในการสร้างอาหารมาสะสมไว้น้อยลง หัวที่ได้จะมีขนาดเล็กลง ปุ๋ยเคมีที่ใช้สำหรับไม้หัวคือ 5-10-15 (ให้โปแตสเซียมสูงกว่าไนโตรเจน 3 เท่า) เพื่อให้ได้หัวที่สมบูรณ์ที่สุดสำหรับในการปลูกครั้งต่อไป การให้น้ำ การให้น้ำในครั้งแรก หลังจากปลูกกลบหัวลงหลุมควรรดน้ำให้ชุ่ม หลังจาก 1-2 สัปดาห์เมื่อต้นโผล่พ้นดินแล้วจึงให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ และควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอในช่วงที่ให้ดอกและช่วงที่เจริญเติบโตของหัวใหม่ ประมาณ 30-45 วัน หลังจากนั้นต้นจะพักตัว ถ้าให้น้ำมากจะเกิดอาการผิดปกติต่อหัว ดังนั้นจึงจำเป็นต้องงดการให้น้ำ โดยสังเกตจากใบแรกเริ่มเหี่ยว ให้งดน้ำจนใบเหี่ยวหมด เมื่อต้นโทรมจึงขุดหัวขึ้น เพื่อให้อาหารสะสมได้เต็มที่ การคลุมโคนต้น เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับไม้หัวเพราะจะช่วยทำให้ความชื้นในดินสม่ำเสมอ ลดปริมาณวัชพืชและประหยัดการให้น้ำ |
วิธีการเก็บหัว แบ่งเป็น 5 ขั้นตอนคือ การขุดหัว ควรระวังไม่ให้ขุดชิดโคนต้นมากเกินไป จะทำให้เกิดความเสียหายกับหัวได้ และควรใช้อุปกรณ์เช่น เสียมขุด ไม่ควรถอดดึงต้นขึ้นมา การนำหัวที่ขุดแล้วมาผึ่งไว้ในที่ร่ม โดยไม่ต้องล้างน้ำให้ดินเก่าและรากเก่าติดไว้ ทิ้งไว้ 7-15 วันในโรงเรือนที่มีหลังคาบังแสงโปร่ง และมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก เมื่อดินแห้งควรตัดใบทิ้งด้วย ทำความสะอาดหัว โดยเคาะเอาดินออก แต่งรากเก่าทิ้ง ถ้ามีหัวย่อยแยกหัวย่อยออก เอาหัวเก่าที่หมดสภาพทิ้งไป คัดขนาดหัวและคลุกสารเคมีกันราและแมลง โดยเลือกหัวที่เป็นโรคเป็นแผลทิ้ง ส่วนหัวที่ได้ขนาดนำมาคลุกสารกันราและแมลง |
การเก็บรักษา ควรเก็บไว้ในภาชนะที่โปร่ง อากาสถ่ายเท หรือเก็บไว้ในห้องเย็นที่มีอุณหภูมิ 40-50°F หรือ 9-10°C เพื่อช่วยลดช่วงระยะการพักตัว และทำให้ปริมาณการออกดอกสม่ำเสมอกว่าหัวที่เก็บไว้ในอุณหภูมิสูงด้วย |
วิธีการปลูกไม้หัวในน้ำเย็น
ไม้หัวบางชนิดสามารถ ปลูกในน้ำเย็นได้ เข่น ไฮยาซินธ์ แดฟโฟดิล ทิวลิป เป็นการปลูกเพื่อให้ออกดอก โดยใช้แก้วน้ำ แจกัน ถ้วยจาน หรือขวดพลาสติก หรือแก้วสำหรับปลูกไฮยาซินธ์โดยเฉพาะ เมื่อเริ่มปลูกให้ใส่น้ำเย็นในแก้ว แล้ววางไม้หัวไว้ด้านบน ให้ก้นของหัว แตะน้ำพอดี อาจใช้ก้อนหิน ก้อนเล็กวางเรียงกันขึ้นมา เป็นฐานให้กับหัว แล้วเทน้ำใส่ลงไปในแก้ว หรือภาชนะอื่นๆ จากนั้นให้นำไปเก็บไว้ในตู้เย็น อุณหภูมิ ประมาณ 10 องศา คอยเปลี่ยนน้ำทุกเดือน เมื่อรับหัวมาควรลอกเศษเปลือกให้สะอาด เพราะเศษเปลือกเป็นที่สะสมของเชื้อรา ทำความสะอาดเสร็จก็ควรแช่ยาฆ่าเชื้อรา15นาที แล้วก็เอาไปใส่แก้วที่มีกรวด เติมน้ำพอแต่ฐานหัวนิดเดียว ถ้ามากไปจะเน่าง่าย ใส่ตู้เย็นไปเรื่อยๆจนหัวต้นไม้พร้อมออกดอก จะมีจุดสังเกตคือ 1.หัวมีรากงอกเยอะ (รอบฐานหัวหรือ 50% ของฐานหัว) 2.มียอดสีเขียวที่เป็นดอกยาวประมาณ 3 ส่วน 4 ของหัว เมื่อหัวที่ปลูกมีครบทั้ง 2 ข้อ จึงเอาออกมาจากตู้เย็น ไม้หัวบางชนิดใบจะแทงขึ้นมาก่อน จากนั้นดอกจึงจะแทง ขึ้นมาตรงกลางระหว่างใบ ควรรอให้ดอกสูงประมาณ 2.5-5.0 ซม. จึงนำออกจากตู้เย็นได้ ดอกจะเริ่มบานออกมา |
วิธีการเก็บหัวหลังจากออกดอก หลังจากดอกโรยแล้วควรนำหัวไปปลูกในดิน ใส่ปุ๋ย เลี้ยงจนใบเริ่มเหลืองจึงขุดหัวขึ้นมาผึ่งให้แห้งแล้วจึง ไปบรรจุในขุยมะพร้าว หรือ พีทมอส เพื่อเก็บไว้ในตู้เย็นอีก 3 เดือน เป็นการพักหัวเพื่อให้หัวได้สร้างดอกรอบต่อไป (แต่ดอกรอบใหม่นี้จะไม่สมบูรณ์เหมือนครั้งแรก) |
เคล็ดลับน่ารู้ ในการปลูกไม้หัวในน้ำเย็น ยอดหรือใบที่แทงขึ้นมาจะยืดออกมายาวกว่าปกติ เพราะในตู้เย็นเป็นที่มืด ใบจึงยืดขึ้นหาแสง แต่วิธีแก้ไขใบหรือช่อดอกที่ยืดยาวเกินไป เราสามารถใช้แอลกอฮอล์หยดลงไปในน้ำที่เราใช้ปลูกเพื่อช่วยให้ใบไม่ยิดยาวได้ เทคนิคนี้สามารถทำได้จริง โดยใช้ เหล้าว้อดก้า (Vodka) ผสมในอัตราส่วน 1 ต่อ 7 หรือ เอทิลแอลกอฮอล์ สำหรับใช้ล้างแผล โดยผสมในอัตราส่วน 1 ต่อ 11 เทคนิคนี้จะช่วยให้ช่อดอกสั้นลงและ ใบไม่ยืดยาวมากเกินไป |